Wednesday, September 19, 2018

ตอบจบของไซอิ๋วคืออะไร





เคยสงสัยว่าตอบจบของไซอิ๋วคืออะไร เพราะสารภาพตามตรงว่าไม่เคยอ่านจริงๆจังๆ สักที เคยฟังแต่เค้าเล่ามากับดูละครช่อง 3 รู้แต่ว่าเป็นนิยายที่แต่งขึ้นโดยยืมท่านเสวียนจ้าง ที่ไปอัญเชิญพระไตรปิฎกที่อินเดีย แต่แต่งให้มีอภินิหารอ่านสนุก ก็เท่านั้น ....

วันนี้เลยนั่งดู google  กลายเป็นนั่งอ่านไป 4-5 ชั่วโมง แล้วก็ไปเจอที่เค้าเฉลยว่า ทำไมไซอิ๋วคือนิยายที่ทรงอิทธิพลของจีน ไม่ใช่แค่มันแฟนตาซีเท่านั้น แต่ไซอิ๋วคือการกางพระไตรปิฎกออกมาแล้วเขียนใหม่ในมุมนิทาน

รู้แค่ว่าพระถังคือศรัทธา จะไปชมพูทวีป ต้องมีศรัทธาก่อน พกจิตไปด้วยซึ่งจิตคนเรา ประกอบด้วย
โทสะ - หงอคง โกรธ ,
โลภะ - ตือโป๊ยก่าย โลภ ,
โมหะ - ซัวเจ๋ง ความไม่รู้

ก็แค่นั้น จน Google เจอที่เค้าอธิบายแต่ละบทแบบละเอียด ทึ่งเลยในความสามารถของคนแต่ง

หงอคงแปลงกายได้ เหาะเหิน เดินอากาศได้ ทำอะไรก็ได้ เพราะหงอคง คือจิตคนเรา ที่เป็นลิง ไม่อยู่นิ่ง คิดไปเรื่อย แค่คุมให้ตามลมหายใจยังยากเลย ดังนั้น ถ้าเราคุมหงอคงได้ .... การไปชมพูทวีปจะง่ายขึ้น ... เป็นต้น
และเมื่อไหร่ก็ตามที่เราโกรธ - โทสะ เราจะเหมือนหงอคง แผลงฤทธิ์ พังพินาศ ราบเป็นหน้ากลอง

แต่หงอคงแพ้อะไร ? โดนขังไว้ที่อะไร ? ใช่แล้ว แพ้ฝ่ามือยูไล โดนขังไว้ที่เขา 5 นิ้ว

ฝ่ามือยูไล และเขา 5 นิ้ว แทน ขันธ์ 5
ต่อให้จิตแน่แค่ไหนสุดท้ายก็ไม่พ้นขันธ์ 5
ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

นอกจากนี้หงอคงยังมีกระบองวิเศษจัดการปีศาจได้ตลอด กระบองนั้นแทนปัญญา แต่ทว่า มีจิต กับปัญญา แค่นั้นมักเกิดปัญหา พระยูไลจึงประทานมงคล มารัดหัวไว้ ให้พระถังคอยดูแล มงคลนั้นก็แทน "สติ" ซึ่งมงคลเป็นรัดเกล้า 3 ห่วงคล้องกัน แทนไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา

ปีศาจแต่ละตัว แทนกิเลสที่เราต้องค่อยกำจัดออกไป

ตอนเจอกันครั้งแรกเห้งเจียบอกพระถังว่า
จะไปชมพูทวีปผมพา อาจารย์ตีลังกาไปได้ 7 ทีถึง
มามัวเสียเวลาเดินทำไมกัน ไม่เข้าใจ พระถังบอกว่าไม่ได้ต้องเดินไป

ปริศนาธรรมข้อนี้บอกว่า จิต+ปัญญา ฟังเค้าเล่า ฟังเค้าบอก คิดเอาเองก็บอกง่าย แป๊บเดียวก็ไปถึงนิพพานละ
เช่น เนี่ยคนเล่าให้ฟังอริยสัจ 4 ทางดับทุกข์ ฟังเข้าใจละ แต่จริงๆ แล้วไม่เข้าใจ ธรรมมะต้องลงมือปฎิบัติ เหมือนหงอคงบอกตีลังกาไป 7 ที  มันไปไม่ถึง ต้องค่อยๆ เดินไป ศึกษาไป ปฎิบัติไป ถึงจะถึง

โป๊ยก่าย คือศีล 8 , ซัวเจ๊ง คือสมาธิ

ศรัทธา + ปัญญา + ศีล + สมาธิ จึงจะพ้นทุกข์

แต่บางครั้งปีศาจบางตัวก็เก่งเหลือเกิน
ต้องไปตามเจ้าแม่กวนอิมมาช่วย
เจ้าแม่กวนอิม คือ เมตตา

ปัญญา + เมตตา จะกลายเป็นสัมมาทิฏฐิ ธรรมชั้นสูงซึ่งปราบกิเลสได้เสมอ แต่เจ้าแม่กวนอิม มักให้เห้งเจียลองสู้จนหมดแรงก่อน ถึงมาช่วย เหมือนหากมีกิเลสควรให้ปัญญาลองขจัดดูก่อน เกินกำลังแล้วจึงให้เมตตาปล่อยวาง

ถ้าเกินกำลังเมตตา เจ้าแม่กวนอิมช่วยไม่ไหว
คนสุดท้ายที่มักมาช่วย คือ พระยูไล

พระยูไล แทน พระอริยสงฆ์ ท้ายที่สุดถ้าปฎิบัติไม่ไหวก็ถามผู้รู้เอา .... จบแน่นอน

ลำดับปีศาจแต่ละตัวในเรื่องก็เจ๋งมาก
เช่นเมื่อเริ่มเดินทาง ก็พบโจรทั้งหก ขัดขวางไม่ให้ไป
สุดท้ายเห้งเจียเลยเอากระบองตีจนตาย

โจรทั้งหกคือ อายตนะ 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ ต้องเอา ปัญญา (ตะบอง) ฟาดให้ตายก่อนถึงเริ่มออกเดินทางได้

แล้วก็เจอปีศาจไปเรื่อยๆ อ่านยังไม่จบ ท่าทางอีกหลายวัน

อ้อ แต่แอบโกงมาละ เปิดดูตอนจบ
สรุป ศรัทธา + ปัญญา + ศีล + สมาธิ เดินทาง
กำจัดกิเลสไปจนถึงชมพูทวีป แล้วได้อะไร

ตอนจบพระถังและคณะ มาถึงแม่น้ำแห่งหนึ่ง
สายน้ำเชี่ยวกรากมาก ไม่รู้จะข้ามไปยังไง
จนเจอเรือไร้ท้องเรือจอดอยู่ พระถังกังวลมาก
เรือไม่มีท้องเรือจะพาข้ามฟากยังไง

แต่สุดท้ายก็ยอมใช้เรือข้ามไป
แม่น้ำเชี่ยวกรากแทนกองกิเลส
เรือนั้นแทน สุญญตา ความไม่ยึดมั่นถือมั่น

เมื่อข้ามมาแล้วก็ถึงชมพูทวีป
และได้คัมภีร์มา เป็นหนังสือเปล่าหนึ่งเล่ม
แทนธรรมมะ ซึ่งคือความว่างเปล่า ...นิพพาน

แต่สุดท้ายเห้งเจียขอให้มีอะไรกลับไปจีนหน่อย
เพราะคนธรรมดาคงไม่เข้าใจ
เลยได้คัมภีร์มาอีกเล่มนึง เต็มไปด้วยอักษร
บันทึกการเดินทาง เรียกว่า พระไตรปิฎก ... จบ

อ่านแล้วคารวะคนแต่งเลย .... โห เก่งจัง

Monday, September 10, 2018

เทียนไขชีวิต




คำถามถึงเทวดา, พญานาค, พระภูมิเจ้าที่,
สัตว์เดรัจฉาน,เปรต, สัตว์ในนรก และมนุษย์

คำถามเดียวกัน แต่ต่างคำตอบ ต่างภพภูมิ ต่างวาระ ต่างบารมี ต่างความคิด
ต่างการกระทำ ต่างจุดมุ่งหมาย

"ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์อยากจะทำอะไร"

เทวดา ตอบว่า
"เราจะพิจารณาธรรม เพราะมนุษย์มีกายสังขาร ที่เหมาะกับการพิจารณาธรรมมาก ร่างกายของมนุษย์เป็นเครื่องมือที่ใช้พิจารณาธรรมได้ดีที่สุด น่าอิจฉาพวกมนุษย์จริงๆ"

พญานาค ตอบว่า
"บวชสิ ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์ เราจะบวช ... เป็นพญานาคมีฤทธิ์มากก็จริง แต่บวชไม่ได้ พ้นทุกข์ไม่ได้ ไม่เหมือนมนุษย์ พระพุทธเจ้าไม่อนุญาตให้นาคบวช แต่มนุษย์บวชได้ มนุษย์สร้างบุญใหญ่ไปสวรรค์ชั้นสูง ไปแดนนิพพานได้ แสนประเสริฐ"

พระภูมิเจ้าที่ ตอบว่า
"ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง คราวนี้เราจะไปทำบุญใส่บาตรทุกวัน ไม่ต้องมานั่งรอคนอุทิศส่วนกุศลมาให้เราอีก ไปทำเองเลย เพิ่มบารมีได้เร็วทันใจดี"

สัตว์เดรัจฉาน ตอบว่า
"ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์ เราจะสงเคราะห์สัตว์ตัวอื่นๆ เป็นสัตว์นั้นทุกข์มาก พูดก็ไม่ได้ คิดอะไรฉลาดๆก็ไม่ได้
เป็นมนุษย์มีสมองมีปัญญา เราจะใช้ปัญญาของมนุษย์ทำให้ตัวเองไม่ต้องมาเป็นสัตว์อีก"

เปรต ตอบว่า
"เราไม่อยากมีหน้าตาน่าเกลียด ไม่อยากมีปากเท่ารูเข็ม มีรูปร่างสูงเหมือนต้นตาล
ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์ เราจะถือศีล จะได้ไม่ต้องมาเป็นเปรตผู้หิวโหย อดๆ อยากๆ ทนทุกข์ทรมานแบบนี้"

สัตว์นรกในอเวจี ตอบว่า
"ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์ เราจะทำความดี จะไม่ผิดศีล5อีก จะปฏิบัติธรรม เพราะนรกมันร้อนมันโหดร้าย อยู่แล้วมีแต่ความเจ็บปวด ทุรนทุราย ถ้าข้ามีโอกาสอีกครั้ง เราจะไม่ทำเลว เราไม่อยากทรมาน ไม่อยากได้ชื่อว่าเป็นสัตว์นรกอีก"

แต่เมื่อถามคำถามเดียวกัน
มนุษย์ตอบว่า "อยากสมหวังรัก,อยากรวย,อยากมีตำแหน่งสูง,อยากมีอำนาจ แม้ต้องผิดศีล ทำร้ายใครก้อจะทำ"

อนิจจาใครหนอ..น่าสงสารที่สุด!
มนุษย์ผู้ที่อยากแต่ทรัพย์สมบัติภายนอกที่ยึดถือได้ชั่วคราว
ทั้งที่มีโอกาสจะทำบุญกุศลมากกว่าเพื่อน ทำให้มีอริยทรัพย์คือ

ทรัพย์อันประเสริฐเป็นของติดตัวไปทุกภพภูมิ อยู่ภายในใจ มี ๗ สิ่งคือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา

Tuesday, August 28, 2018

ภัยสังคม ยาเสียสาว





ใครมีลูกสาว หลานสาว
เอาให้ดูเป็นอุทธาหรณ์ด้วยจะได้ไม่เป็นเหยื่อ

VDO ตำรวจแถลงเรื่องยาเสียสาว


Monday, August 27, 2018

มีขึ้น มีลง คือสัจธรรม




ซิงตึ๊ง (新唐)

 ซิงตึ๊ง...เป็นศัพท์ที่ใช้เรียก...กลุ่มคนจีน ที่อพยพหนีร้อนจาก...เมืองจีน มาพึ่งเย็นที่...สยามประเทศ      ยุคอากง, อาป๊า ของพวกเรา สมัยนั้นมากันเยอะมาก
  แล้วก็เกิด...สำนวนขึ้นอีกประโยคหนึ่ง จะเรียกว่า...สโลแกน ก็ได้ ในหมู่ ซิงตึ๊ง ว่า...
ซา ซัว ติ๊ก เจ๊ก, ไก่ ไก่ อู่ หุ่ง (三山得一,個個有份)
แปลว่า...ซา ซัว จะต้องได้กันคนละหนึ่ง ทุกคนมีสิทธิ์เหมือนกันหมด
 ซาซัว ก็คือ... 1) จ่อ ซัว (座山 / เจ้าสัว) 2) ตึ่ง ซัว (唐山 / ประเทศจีน)
3) หงี่ ซัว (義山 / สุสานสงเคราะห์ หรือ ป่าช้าวัดดอน)

ขอพักไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยมาเล่าต่อ...

วันนั้น ประเทศจีนอ่อนแอมากๆ อดอยาก, ยากจนข้นแค้นแสนสาหัส (มีครบทุกรส...)
ขนาดประเทศมหาอำนาจตะวันตก เปรียบเปรย ว่า เป็น...สุนัข
หาดว่ายทาน ในนครเซี่ยงไฮ้ ประเทศมหาอำนาจตะวันตก มาเช่าไว้ เรียกว่า...เขตเช่า
รอบเขตเช่านี้ พวกมหาอำนาจตะวันตก ขึ้นป้ายเยาะหยันไว้ ว่า...คนจีน และ สุนัข ห้ามเข้า!!

เพราะความยากจน ในประเทศจีน ทำให้...คนจีน ต้องหนีตาย, หนีออกนอกประเทศ                      ไปตายเอาดาบหน้า และ สยามประเทศ หรือ เสี่ยม-ล้อ (暹羅) ก็คือ...ที่หมาย
เฉพาะแถบ อำเภอ แต้ จิ๋ว (潮州) และ อำเภอ เหมย เซี่ยน (梅縣) ก็มี...คนจีน ทะลักเข้าสยาม (เสี่ยม-ล้อ) โดย...จ่ายค่าโดยสารบ้าง, แอบซ่อนตัวมาบ้าง, มากับเรือบรรทุกสินค้า จาก...ซัว เถา (汕頭) ซึ่งมีปลายทางอยู่ที่...สยาม สัปดาห์ละ 2 เที่ยว ทุกเที่ยวบรรทุกเกินพิกัด จำนวนคนโดยสารหลายพันคน
มากันแบบ...เสื่อผืนหมอนใบ
แค่ 2 ปี มีคนจีน เข้า สยาม ไม่น้อยกว่า 100,000 คน

ปี ค.ศ. 1948 (พ.ศ. 2491)
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ขึ้นมามีอำนาจ ได้สั่งจำกัด ให้...คนจีนเข้าไทย ได้ปีละ 200 คน     ปรากฏว่า...ครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2491 จำนวนคนจีน เข้าสยาม ก็ได้...ลดลงอย่างฮวบฮาบ
ปี ค.ศ. 1949 จีนสถาปนา ประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ปกครองด้วย...ระบอบคอมมิวนิสต์             ไทยกับจีน...ได้ตัดสัมพันธ์กัน จึงไม่มีคนจีน หอบ...เสื่อผืนหมอนใบ ข้ามน้ำข้ามทะเล มาอีก

คนจีนที่ทะลักเข้ามา...สยามประเทศนี้ ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า...พวก ซิง ตึ๊ง
เป็นคนประเภท...มีความอดทน, หนักเอาเบาสู้, ไม่เกี่ยงไม่งอน ขอเพียงมีงานทำ, มีรายได้          เป็นรับไว้หมด
ขณะเดียวกัน ก็มี...ความประหยัด เก็บหอมรอมริบ ตามมา และ เริ่มพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ
เมื่อพอมีเงิน, เพียงพอที่จะใช้...เป็นทุนได้ ก็เล็งหาโอกาส ยกระดับตัวเอง
จาก...ระดับแรงงาน, ขี้ข้า...ขึ้นมาเป็น...พ่อค้า
จาก...หาบเร่, แผงลอย ยกระดับขึ้นมาเรื่อยๆ จนเป็น...เจ้าของกิจการมากมาย ใหญ่บ้าง, เล็กบ้าง,   ตามสถานะ และ โอกาส และ ความสามารถ ของแต่ละบุคคล

บ้างก็ร่ำรวยเงินทอง ถึงขั้นเศรษฐี หรือ เจ้าสัว...ก็มี,
 บ้างก็เป็นเถ้าแก่, นายจ้าง...ก็มี,
 บ้างก็ย่ำแย่อยู่กับที่...ก็มี,
 บ้างก็อนาถา น่าสงสาร...ก็มี

ทีนี้ ก็มีคุยกันต่อถึงเรื่องที่...ค้างไว้ข้างต้น

1) พวกที่โชคดี ร่ำรวยเงินทองเต็มขั้น เป็นเศรษฐี, มหาเศรษฐี ก็ได้ชื่อว่า...จ่อ ซัว หรือ เจ้าสัว     (ก็รับไป 1 ซัว)
2) พวกมีเงินมีทองบ้าง และ คิดถึงบ้านที่เมืองจีน อยากกลับบ้าน ก็ได้กลับ...ตึ่ง ซัว หรือ เมืองจีน
(ก็รับไป 1 ซัว)
3) พวกโชคไม่ดี เหมือนประเภท 1 และ 2 ยังคงอนาถา น่าสงสาร อยู่ไปตามยถากรรม อย่างน้อย ช่วงสุดท้ายของชีวิต ก็ได้อยู่...หงี่ ซัว หรือ สุสานสงเคราะห์ หรือ ป่าช้าวัดดอน
(ก็ได้ 1 ซัวเหมือนกัน)

จะเห็นได้ว่า...ทุกคนมีส่วนได้กันหมด

ในกลุ่ม ซิง ตึ๊ง อพยพ นั้น ได้มีการสร้างเนื้อสร้างตัว ไต่เต้าขึ้นมาตามลำดับ และ ประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของปวงชน ก็มีไม่น้อย เช่น...

นายชิน โสภณพานิช     (แซ่ตั๊ง / 陳) ผู้ก่อตั้ง...ธนาคารกรุงเทพ จำกัด

นายอุเทน เตชะไพบูลย์ (แซ่แต้ / 鄭) เป็นรุ่น 2 ผู้ก่อตั้ง...ธนาคารศรีนคร และ
 มูลนิธิป่อ เต็ก ตึ๊ง, โรงพยาบาล หัว เฉียว,  มหาวิทยาลัย หัว เฉียว ฯลฯ

นอกจากนี้ ชาวจีนที่อพยพเข้ามาประเทศสยาม ก่อนหน้านี้ และ มีชื่อเสียง, มีผลงาน จารึกอยู่      บนหน้าประวัติศาสตร์ ก็มีไม่น้อยเช่นกัน ตัวอย่าง...
 นายปรีดี  พนมยงค์  (แซ่ ตั๊ง / 陳)
 หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (แซ่ แต้ / 鄭)
 นายธานินทร์  กรัยวิเชียร (แซ่ เบ๊  / 馬) หรือ หม่า
 นายถนัด  คอมันต์ (แซ่ คอ / 柯)
 นายบรรหาร  ศิลปอาชา  (แซ่ เบ๊  / 馬)
 นายชวน  หลีกภัย (แซ่ ลื๋อ / 呂)
 นายทักษิณ  ชินวัตร (แซ่ คู   / 丘)
 นายอภิสิทธิ์  เวชาชีวะ (แซ่ อ๊วง / 袁) ฯลฯ

ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็น...อนุชน จีนอพยพ ทั้งสิ้น

สรุป...ใดใดในโลกล้วน อนิจจัง

วันนั้น.....ต้อง...หนีตาย, หนีร้อนพึ่งเย็น

วันนี้........กำลังเป็น...มังกรทยานฟ้า

วันหน้า...ก็ไม่แคล้ว...อนิจจัง

**********************************************

Friday, August 24, 2018

โอวาทธรรมของเกจิอาจารย์




บุญญฤทธิ์ พระโพธิญาณเถร หลวงพ่อชา สุภทฺโท วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (ปกแข็ง)

บุญญฤทธิ์ พระโพธิญาณเถร หลวงพ่อชา 

สุภทฺโท วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ 

จังหวัดอุบลราชธานี (ปกแข็ง)

ภาพและประวัติพระเครื่องหลวงพ่อชา สุภทฺโท

"..ผลที่สุดก็มารวม เป็นอันเดียวว่า นอกจากทุกข์นี้เกิด นอกจากทุกข์นี้ตั้งอยู่ นอกจากทุกข์นี้ดับไปแล้ว ไม่มีอะไร มีแต่เท่านี้ ไม่มีอะไรอื่นนอกจากนี้ มันมีเท่านี้ๆ.."

โอวาทธรรม หลวงปู่ชา สุภัทโท
*************** 

"ต้องไปเกิดตามความแน่นอนของกรรม ภพชาติแต่ละภพ เราอย่าเข้าใจว่าเหมือนกัน ใจดวงนี้แหละพาดำริคิดอ่านไตร่ตรองให้ทำก่อน คิดขึ้นก่อนแล้วค่อยทำ ส่วนมากจะคิดตั้งแต่ฝ่ายต่ำ จึงมักทำแต่ความไม่ดีเสมอ จิตใจของคนและสัตว์ทั่ว ๆ ไปเป็นเช่นนี้ เมื่อทำแล้วผลก็หลั่งไหลเข้ามาสู่ตัวเหตุที่เป็นจุดแห่งการกระทำนั้นแล เวลาตายไปแล้วไปอยู่ที่ไหน จิตไม่ตาย ธรรมชาติเหล่านั้นก็ติดจิตไป ร่างกายแตกสลาย ธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่เรียกว่าร่างกาย ๆ นี้สลายตัวลงไปจากส่วนผสม แต่จิตกับวิบากของจิตดีชั่วไม่ได้สลาย มีอยู่ที่จิต จิตดวงนี้จึงไปเกิดตามสถานที่ให้ไปเกิด ตามความแน่นอนของใจไม่ได้ ต้องไปเกิดตามความแน่นอนของกรรมเท่านั้น กรรมมี กรรมดีกรรมชั่ว ถ้าเราได้ทำความชั่วเอาไว้มาก กรรมชั่วก็เป็นเจ้าของของจิตใจนั้น พาใจไปเกิดในสถานที่ไม่พึงปรารถนา"

โอวาทธรรม พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน
***************

 "คนบางคน ที่มีปัญญาฉลาดหลักแหลม ฉลาดในเชิงพูดเชิงคิด แต่ดวงจิตไม่มีสมาธิ นี้เรียกว่า คมนอกฝัก"

โอวาทธรรม ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
***************

Thursday, August 16, 2018

อย่าต้มน้ำทิ้งเปล่า ๆ โดยไม่ได้เอาน้ำร้อนไปใช้ประโยชน์



"อย่าต้มน้ำทิ้งเปล่า ๆ โดยไม่ได้เอาน้ำร้อนไปใช้ประโยชน์ (หมายถึงอย่าเอาแต่ทำสมาธิโดยไม่พิจารณาธรรม)"

โอวาทธรรม หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
***************

"อันตรายภายนอกนั้นเราไม่กลัว เรากลัวอันตรายจากกิเลสภายในใจของตนเองเท่านั้น

ใจคนเราที่ฟุ้งซ่านหงอยเหงา เกิดจากกิเลสสามกองภายในใจของตนเองบั่นทอน ใจฟุ้งซ่านไม่ได้เกิดจากสิ่งภายนอก สัตว์ บุคคล มันเกิดจากใจเราเข้าไปยึดถือ ให้เป็นธรรมารมณ์ทั้งนั้น"

โอวาทธรรม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
***************

"การตื่นรู้อยู่ในปัจจุบันเป็นเสมือนบ้านของจิตใจ ไม่ว่าเราจะอยู่ที่บ้าน ที่ทำงาน หรือแม้กระทั่งขณะเดินทางไปต่างประเทศ ห่างไกลจากเพื่อนและคนที่เรารัก หากเรายังคงเข้าถึงความตื่นรู้ที่สว่างกระจ่างชัดนี้ได้ เราย่อมรู้สึกเหมือนอยู่บ้าน"

โอวาทธรรม พระอาจารย์ชยสาโร
***************

Monday, August 13, 2018

นิทานเรื่อง งู กับ เลื้อย




🐍งูตัวหนึ่งเลื้อยเข้าไปในโรงไม้ มันไถลเลื้อยข้ามเลื่อยใบหนึ่ง มันเจ็บปวดมาก เลยหันหัวแว้งฉกกัดเลื่อย แต่กลับทำให้ปากมันมีแผลเหวอะโดยไม่ได้ยั้งคิด มันกลับเข้าใจว่า มันกำลังถูกจู่โจมโดยเลื่อย มันตัดสินใจ เลื้อยโอบรอบตัวเลื่อย แล้วจัดการรัดเจ้าเลื่อยอย่างเต็มกำลัง แต่สิ่งที่ได้ คือ มันกลับถูกเลื่อยฆ่ามันตายในที่สุด
อย่าคิดว่าตัวเองแน่ แล้วใช้อารมณ์ เพราะบางปัญหา อารมณ์ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ บางทีอาจจะคิดว่าการบาดเจ็บเกิดจากคนอื่น แต่จริงๆ อาจจะเกิดจากจุดอ่อนตัวเอง
:: ข้อคิด ::
ในบางครั้ง เราตอบโต้ความโกรธ ด้วยการคิดทำร้ายคนๆนั้น แต่เราไม่ได้ฉุกคิดเลยว่า ในที่สุดแล้ว เรากลับกำลังทำร้ายตัวเองอยู่
ในชีวิตจริง บางทีมันจะดีกว่า ถ้าเราไม่สนใจต่อสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
ไม่สนใจคนพวกนั้น ไม่สนใจพฤติกรรมเหล่านั้น แม้แต่คำพูดของพวกเขา
ในบางครั้ง มันจะดีซะกว่า หากเราไม่โต้ตอบ เพราะมันอาจจะไม่ใช่แค่ ได้ผลลัพท์ที่เลวร้าย แต่อาจเป็นภัยที่ร้ายแรงขั้นถึงชีวิตกันเลยที่เดียว
อย่าปล่อยให้ความโกรธครอบงำชีวิตคุณ แต่กลับเป็นความรัก ที่อยู่เหนือทุกสิ่ง
จงยิ้มเข้าไว้ แผ่ความสุขในตัวคุณออกไป
นี่คือ กฎของธรรมชาติ
อาหารที่เรากิน จะถูกย่อยและถูกขับออกไปภายใน ๒๔ ชม. ไม่เช่นนั้น เราจะป่วย
น้ำที่เรากิน เข้าสู่ภายในร่างกาย และจะถูกขับออกมา ในอีก 4ชม. ไม่เช่นนั้น เราจะไม่สบาย
อากาศที่เราหายใจเข้าไป จะถูกดันออกมา ในเวลาแค่ 1 นาที ไม่เช่นนั้น เราก็จะตาย...
แล้วนับประสาอะไรกับอารมณ์ที่ไม่น่าพิศมัยต่างๆ เช่น ความโกรธ ความอาฆาตพยาบาท ความอิจฉาริษยา ความหวั่นไหวในจิตใจทั้งหลาย แต่เรากลับเก็บสิ่งพวกนี้ไว้กับเรา เป็นแรมเดือนแรมปี
หากอารมณ์แย่ๆทั้งหลายยังไม่ถูกกำจัดออกไปจากใจเรา มันก็จะกัดกร่อนจิตใจส่วนดี และทำให้ร่างกายนี้เจ็บป่วยตามไปด้วย
การมีสติ กลับมารู้สึกตัว ถือเป็นวิธีที่ไวและให้ผลลัพท์ที่ดีที่สุด ในการชนะอารมณ์ลบๆในจิตใจของเรา

139.00 บาท

คู่มือการฝึกสติเป็นลำดับขั้นจนเกิดปัญญา เห็นด้วยสติ เห็นด้วยความรู้สึกตัว เห็นด้วยความปล่อยวาง เห็นด้วยญาณทัสสนะ เห็นด้วยปัญญาญาณ

   จากจุดเริ่มต้นไปจนถึงปลายทางการหลุดพ้น มีหลากหลายเส้นทางให้เลือกปฏิบัติ หนึ่งในนั้นคือ การฝึกสติ เพื่อให้เกิดศีล 
สมาธิ ปัญญา สติที่เกิดจากการฝึกในระดับจิตสำนึกในชีวิตประจำวันบ่อย ๆ จะช่วยปรับ แก้ไขสติในระดับจิตใต้สำนึกให้มีมากขึ้น ทำให้มีสติและรู้สึกตัว ใจเย็น รอบคอบ ไม่วู่วาม ไม่เร่าร้อน ไม่โกรธง่าย และสามารถปล่อยวางความทุกข์ได้ในที่สุด 

หนังสือ "ฝึกสติให้เกิดปัญญา" เล่มนี้ 
เป็นหนังสือแนะนำแนวทางการปฏิบัติในชีวิตประจำวันอีกเล่ม ที่ได้คัดสรรมาสำหรับผู้ที่คิดว่าตนเองไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม ให้ค่อย ๆ พัฒนาสติสัมปชัญญะของตน ในหน้าที่การงานแต่ละวันไปเป็นลำดับขั้น จนเกิดความปล่อยวาง เกิดญาณทัสสนะ และ
ปัญญาญาณในที่สุด


Saturday, August 11, 2018

ขี้นชื่อว่าบุญ ทำไป...ก็มากเอง




"ชีวิตหลังความตาย ไม่มีการต่อรองได้

หากบุญมากก็ไปสวรรค์ ในชั้นที่เหมาะกับแรงกุศลของตนเท่านั้น จะขอความเป็นทิพย์แห่งสวรรค์ที่มากหรือน้อยกว่านั้นไม่ได้

และหากแรงบาปมาก ก็ต้องไปนรกขุมต่างๆ ตามแรงกรรมของตน ซึ่งเต็มไปด้วยทุกข์กับร้อนเท่านั้น จะขอต่อรองพักยกความทุกข์ร้อนทรมาน เพียงช้างกระพือหู งูแลบลิ้น ไม่ได้เลย ต้องก้มหน้ารับกรรมไป

ต่อรองได้แต่ในชีวิตจริงในโลกมนุษย์ขณะนี้ เดี๋ยวนี้เท่านั้น ที่่ทุกคนมีสิทธิ์จะเลือกทำดี หรือชั่ว บุญ หรือบาป

ฉะนั้น ขอทุกคนจะเร่งทาน เร่งศีล เร่งภาวนาของตนแต่บัดนี้เสีย จะได้ออกไปจากการซัดเหวี่ยงของสังสารวัฏนี้ได้"

โอวาทธรรม หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
***************

"ไม่ให้มัวเมาในวัย ไม่มัวเมาในชีวิต ไม่มัวเมาในความไม่เป็นโรค ไม่มัวเมาในความเป็นอยู่

ให้รู้สภาพตามความเป็นจริง ตัวของเรา นี้คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ เป็นของชำรุด ทรุดโทรม คร่ำคร่า เปื่อยเน่า

ใครจะมากราบความเปื่อยเน่าสักการะบูชาอันนี้ ใครจะบูชาสิ่งไหนนี้ เราต้องกำหนดรู้ให้เห็นชัด"

โอวาทธรรม หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
***************

"ผู้ใดอนุเคราะห์สัตว์โลกทั้งมวล ด้วยเมตตาจิตอันหาประมาณมิได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ และเบื้องล่าง โดยประการทั้งปวง จิตเกื้อกูล หาประมาณมิได้ เป็นจิตบริบูรณ์อันผู้นั้นอบรมมาดีแล้ว กรรมใดที่เขาทำแล้วพอประมาณ กรรมนั้นจะไม่เหลืออยู่ในจิตของเขานั้น"

โอวาทธรรม ครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร


Friday, August 10, 2018

นิทานธรรมะสอนใจ "รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง"




** ธรรมภาษิตสอนใจ **
     ยามมีปัญหาอย่าโทษแพะ  เวลาเกิดปัญหาหรือมีข้อผิดพลาดขึ้นมา แทนที่จะมองหรือเพ่งโทษคนอื่น ควรหันมามองที่ตัวเราเอง ดังเช่น นิทานเรื่องนี้
   มีชายตาบอดคนหนึ่งไปเยี่ยมเพื่อน นั่งคุยกันเพลินจนถึงค่ำชายตาบอดก็ขอตัวกลับบ้าน เจ้าของบ้านยื่นโคมไฟให้ ชายตาบอดถามว่าให้เขาทำไมในเมื่อเขาตาบอด เจ้าของบ้านบอกว่ามันไม่จำเป็นกับคุณก็จริง แต่มันช่วยให้คนอื่นเห็นทางและไม่เดินมาชนคุณ ชายตาบอดเดินมาได้สักพักใหญ่ก็มีคนเดินมาชน ชายตาบอดโมโหมาก พูดขึ้นว่า "แกตาบอดหรือไง ไม่เห็นโคมไฟของฉันหรือ" คนที่เดินมาชนพูดตอบว่า "ขอโทษครับ แต่โคมไฟของคุณมันดับไปตั้งนานแล้ว"
   นิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า เราควรจะนึกถึงคนอื่นถึงแม้เราตาบอด เราไม่จำเป็นใช้โคมไฟแต่โคมไฟจะช่วยส่องทางให้คนอื่นเดินได้สะดวกและไม่เดินชนตัวเรา การเอื้อเฟื้อต่อคนอื่นก็มีผลดีกับตัวเราด้วย และนิทานเรื่องนี้ยังเตือนใจเราว่า เมื่อเกิดปัญหาหรือความผิดพลาดขึ้น อย่าพึ่งโทษคนอื่นให้กลับมามองที่ตัวเองก่อน ถ้าเราไม่หันกลับมามองที่ตัวเอง เราก็ไม่ต่างจากคนตาบอด ซึ่งคนส่วนมากเวลาเกิดความผิดพลาดขึ้นมามักจะโทษคนอื่นก่อนเสมอ แต่ลืมดูตัวเอง ทั้ง ๆที่สาเหตุมันเกิดจากตัวเอง แต่มองไม่เห็น มัวแต่เพ่งโทษคนอื่น ดังคำที่ว่า "รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง"

มูลนิธิพุทธปรัชญา..

 

Monday, August 06, 2018

#เจ้าชายแฮรี #นำคณะนายทหารและข้าราชการของกระทรวงปฏิบัติสมาธิภาวนาในพระพุทธศาสนา..!!!





เจ้าชายแฮรี่ นำฝรั่งไปไกลแล้ว

กระทรวงกลาโหมและ #เจ้าชายแฮรี #นำคณะนายทหารและข้าราชการของกระทรวงปฏิบัติสมาธิภาวนาในพระพุทธศาสนา..!!!

( MoD and Prince Harry led initiatives to practice meditation among British military personel)

ตั้งแต่ปีที่แล้ว เจ้าชายแฮรีและคณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่จากกระทรวงกลาโหมอังกฤษ ได้มีแนวคิดรณรงค์ชักชวนให้สมาชิกในกองทัพฝึกสมาธิตามแนวทางของพระพุทธศาสนา ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการฝึกการเจริญสติ

ปีนี้ จึงมีคณะนายทหารและข้าราชการในกระทรวงกลาโหมอังกฤษไม่น้อยกว่า 150 คนไปปฏิบัติสมาธิภาวนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการเจริญสติ

ปัจจุบันมีนายทหารในกองทัพอังกฤษไม่น้อยกว่า 4,000 นายประกาศตนเป็นพุทธมามกะและปฏิบัติสมาธิภาวนาเป็นประจำ สาระสำคัญก็คือการฝึกจิตให้มั่นคง เพื่อช่วยลดความเครียดในชีวิตประจำวันทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว

ก่อนหน้านี้ นักวิจัยอังกฤษค้นพบว่าการเจริญสติซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมาธิภาวนาในพระพุทธศาสนาสามารถทำให้ผู้คนประสบความสุขได้จริง จึงเริ่มมีการรณรงค์ให้การเจริญสติเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมประจำวัน เช่นเดียวกับการออกกำลังกาย

An initiative was launched last year by the MoD and Prince Harry to develop mindfulness among British military personel using Buddhist meditation.

More than 150 military personnel and defence civil servants have come together for a day designed to teach them about mindfulness.

There are 4,000 Buddhists embraced personel currently serving in the British Armed Forces.Most of them normally practice mildfulness to deal with daily stress or pressure.

British researchers previously found that mindfulness meditation, a technique key to Buddhist practice which known as 'Sati',could lead to a true happiness.Initiatives to normalise  it as the culture where people can talk about mental wellbeing in the same way as they talk about physical wellbeing were then launched.

Cr.Sunthorn Utaithum


Sunday, August 05, 2018

สิ่งที่ “ตะลึงโลก” ก็ว่าได้ เมื่อ “TIME Magazine” มีงานวิจัยคุณวิเศษขอวการนั่งสมาธิ!!!





» The Science of Meditation

เป็นสิ่งที่ “ตะลึงโลก” ก็ว่าได้ เมื่อ “TIME Magazine” ฉบับวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๖ ได้อุทิศเนื้อหา “กว่าสิบหน้ากระดาษ” พร้อม “ภาพประกอบสี่สี” เป็นจำนวนมาก ให้แก่เรื่องราวที่เป็น “แนวโน้มใหม่” ของมวลมนุษยชาติ

 นั่นก็คือ “สกู๊ปพิเศษ” ว่าด้วย “The Science of Meditation” หรือ... “วิทยาศาสตร์ (ทางใจ) ของการทำสมาธิ”

TIME Magazine "พาดหัว" ไว้อย่าง "น่าทึ่ง" ว่า ...
           
"นักวิทยาศาสตร์" ก็ "ศึกษาวิจัย" เรื่องสมาธิ...
"แพทย์" ก็ "เชียร์" ให้นั่งสมาธิ...     
"ชาวอเมริกัน...นับสิบล้านคน" ก็ "นั่งสมาธิ... ทุกวัน"

======
         
สั่งซื้อ SE-ED ได้เลย!!!

ในสหรัฐอเมริกา คนอเมริกันสิบล้านคน นั่งสมาธิอย่างสม่ำเสมอ เป็นสองเท่าของสิบปีก่อน สถานที่หลายแห่งในสหรัฐอเมริกา เช่น ที่นิวยอร์ก เปลี่ยนเป็นที่นั่งสมาธิหลายแห่ง จนคนเรียกแถบนั้นว่า เป็น แถบของชาวพุทธ

นักเรียนนั่งสมาธิก่อนเข้าห้องเรียนทุกเช้า นักกฎหมาย นักธุรกิจ คนทำงานสาขาอาชีพต่าง ๆ นั่งสมาธิตามที่หน่วยงานของตนจัดให้นั่งอย่างสม่ำเสมอ ดาราภาพยนตร์ นักการเมือง นักเขียน ต่างก็นั่งสมาธิ

แม้แต่นักโทษในคุกก็มีห้องนั่งสมาธิ ผู้พ้นโทษมาแล้วจะกลับเข้าคุกน้อยกว่าพวกที่ไม่ได้นั่ง

คนไม่เชื่อเรื่องสมาธิกลายเป็นคนกลุ่มน้อยในสหรัฐอเมริกาไปเสียแล้ว คนเหล่านี้นั่งสมาธิ เพราะ ทำให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย สุขภาพดีขึ้น ชีวิตดีขึ้น ทำให้สร้างความสามัคคีปรองดองให้เกิดขึ้น
   
======
     

การนั่งสมาธิทำให้ร่างกายมีสภาวะเหมือนก่อนจะหลับแต่ไม่ได้หลับ มีสติรู้ตัวอยู่เสมอ และทำให้จิตใจสดชื่นแจ่มใส สมาธิยังช่วยขจัดความขัดแย้งในจิตใจ ทำให้ใจอยู่นิ่ง ท่ามกลางความสับสนว่าจะเอาอย่างไรดี

เมื่ออยู่นิ่งแล้วจะเข้าใจสถานการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ยอมรับมันด้วยความสงบและมีความสุขมากขึ้น และเป็นเหตุผลที่ทำให้แพทย์แห่งมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด เข้าใจว่า ทำไมมนุษย์ถึงนั่งสมาธิมาหลายพันปีแล้ว

แพทย์ก็แนะนำให้คนไข้นั่งสมาธิเป็นประจำและสม่ำเสมอมากขึ้น เพราะผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ จากการสแกนคลื่นสมอง พบว่า...

สมองจะมีระบบปิดกั้นเรื่องราวต่าง ๆ ไม่ให้เข้ามา และไม่ส่งเรื่องเข้าไปย่อยในส่วนลึกของเนื้อสมองอย่างเคย แต่ทำให้ระบบลิมบิค ซึ่งเป็นส่วนควบคุมด้านอารมณ์และความจำดีขึ้น ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจ ลมหายใจ และการเผาผลาญในร่างกายเป็นปกติ

======

         

สมาธิช่วยทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้มากขึ้น สามารถรักษาโรคร้ายแรงเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เอดส์ มะเร็ง ความดันโลหิตสูง โรคใจสั่น
         
คนไข้โรคมะเร็ง เอดส์ และเจ็บปวดเรื้อรัง ๑๔,๐๐๐ คน ไม่ต้องกินยาแก้ปวด สมาธิยังรักษาจิตใจที่ปั่นป่วน กดดัน สมาธิสั้น วุ่นวายไม่อยู่นิ่งอีกด้วย
         
นอกจากนี้ พลังของสมาธิยังสามารถรักษาคนไข้ที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบร้อนแดงให้มีผิวใสขึ้นเป็น ๔ เท่าของผู้ที่ไม่ได้นั่งสมาธิ
         
นักเขียนที่เคยกินยาแก้เครียดมาเกือบจะตลอดชีวิต เมื่อนั่งสมาธิก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งยาอีกต่อไป
         
ผู้กำกับการแสดงและดาราภาพยนตร์ ฮอลลีวู้ด ก็นั่งสมาธิ ทำให้ลดความกดดันจากอาชีพและความเป็นคนดังมีชื่อเสียง

และทำให้มีความสุขมากขึ้น รู้ตัวมากขึ้น มองเห็นสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น พัฒนาบุคลิกภาพให้สง่างามและดูมีอำนาจมากขึ้น มองเห็นตัวเองได้มากขึ้น และรู้ว่าควรแก้ไขข้อบกพร่องของตัวเองได้อย่างไร เพียงแต่นั่งเงียบ และทำให้จิตใจสงบเท่านั้น
         
นักการเมืองที่มีชื่อเสียง เช่น ฮิลลารี คลินตัน พูดถึงสมาธิ อัล กอร์ นั่งสมาธิและแนะนำให้ทุกคนนั่งสมาธิด้วย

=====
Credit : นิตยสาร ไทมส์ ฉบับวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๖(“,)

การฝึกสมาธิ : Practice of Meditation

สั่งซื้อจาก SE-ED ได้เลย!!!
ถ้าท่านยังไม่แน่ใจความหมายของคำเหล่านี้ และอยากรู้วิธีฝึกสมาธิปฏิบัติกรรมฐานที่ถูกต้องตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ท่านจะได้คำตอบจากหนังสือเล่มนี้
    หนังสือเล่มนี้มีจุดมุ่งหมายที่เเท้จริงของการฝึกสมาธิตามที่ปรากฏในคัมภีร์ พระไตรปิฏกคือ การเข้าถึงจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา อันได้เเก่ การบรรลุนิพพาน   ซึ่งประโยชน์ของสมาธิในเเง่นี้คือ เป็นบาทฐานของวิปัสสนา เพื่อทำให้เกิดปัญญารู้เเจ้งถึงขั้นทำลายกิเลสให้หมดสิ้นไปได้ ส่วนเรื่องอภิญญา เป็นเพียงผลพลอยได้จากการฝึกสมาธิเท่านั้น เเละหากบุคคลใดฝึกสมาธิเพื่อหวังผลทางอภิญญาบุคคลนั้นชื่อว่าตั้งความดำริผิด เเต่หากบุคคลใดฝึกสมาธิเพื่อจุดมุ่งหมายคือนิพพานเเล้วได้อภิญญา ถือเป็นความสามารถพิเศษของบุคคลนั้น เเละการฝึกสมาธิยังมีประโยชน์ในด้านการดำเนินชีวิต สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่นทำให้จิตใจผ่อนคลายเป็นเครื่องมือเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน ช่วยเสริมสุขภาพเเละใช้เเก้ไขโรคยิ่งกว่านั้นชาวตะวันตกยังเชื่อว่า การฝึกสมาธิจะช่วยเเก้ปัญหาทางจิตใจได้

ดร. อัมเบดการ์ ผลักดันตัวเองขึ้นมาจาก "จันฑาล" นำผู้คนต่อสู้กับระบบวรรณะโดยพากันเข้านับถือศาสนาพุทธ




อัมเบดการ์ : ผู้แสวงหาเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพในอินเดีย


ดร. บาบาสาเฮบ อัมเบดการ์ ผู้ใช้การเรียนผลักดันตัวเองขึ้นมาจากการเป็น "จันฑาล" นำผู้คนต่อสู้กับระบบวรรณะในอินเดียด้วยการพากันเข้านับถือศาสนาพุทธ ดร.อัมเบดการ์ คนที่นำคนอินเดีย ปฏิญาณคนเป็นพุทธศาสนิกชน จัณฑาล ที่ดิ้นรน จนครูคนหนึ่งยินยอมให้ใช้นามสกุล พราหมณ์ของเขา " อัมเบดการ์" ดิ้นรนเรียนจนได้ทุนเรียนปริญญาเอกทางกฏหมายจากอเมริกา เป็นคนที่ผลักดัน วรรณ จัณฑาล ( หริชน...) ให้มีความเท่าเทียมกันทางกฏหมายอินเดียใหม่ แต่เมื่อในสภาพสังคมยังไม่ได้รับการยอมรับ เขาเลยกลายมาเป็นผู้นำในการประกาศการตนเป็น พุทธศาสนิกชน นับเป็นจุดฟื้นฟูพุทธศาสนาที่สำคัญในอินเดีย ที่เมือง นาคปุระ ข้าพเจ้ารับเอาคำสอนของครูของข้าพเจ้าคือพระพุทธเจ้า ( โคตมโคดม พุทธเจ้า) ที่สอนให้คนเรามีสิทธิ เสรีภาพ เท่าเทียมกัน... ฟังเขาว่ามา..สุรัตน์ โหราชัยกุลคณะรัฐศาสตร์ และศูนย์อินเดียศึกษา จุฬาฯ ในคอลัมน์พินิจอินเดียครั้งนี้ ผู้เขียนขอเลือกเขียนเกี่ยวกับ ดร. ภิมราว รามยี อัมเบดการ์ เพราะเชื่อว่าสังคมไทยยังเข้าใจอัมเบดการ์ได้ไม่ครอบคลุม มีหลายกรณีด้วยที่ผู้เขียนพบว่า ชาวไทยจำนวนไม่น้อยยังเข้าใจไม่ถูกต้อง เช่น ความเชื่อที่ว่ารัฐธรรมนูญอินเดียทั้งหมดเป็นผลผลิตของอัมเบดการ์แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งแท้จริงแล้ว สารัตถะทั้งหมดที่ประกอบเป็นรัฐธรรมนูญอินเดียหาได้มาจากเขาเพียงผู้เดียวไม่ แม้อัมเบดการ์จะดำรงตำแหน่งประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญอินเดีย ซึ่งมีบทบาทสำคัญมากในการวางกรอบรัฐธรรมนูญ ร่วมเสนอประเด็นสำคัญที่มาจากความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของตนเพื่อบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญอินเดีย และร่างรัฐธรรมนูญอินเดีย แต่เขาก็เป็นเพียงหนึ่งในสมาชิกของสภาดังกล่าวจากทั้งหมด 296 คน สมาชิกส่วนใหญ่มาจากพรรคคองเกรส ที่สำคัญในจำนวนดังกล่าวนอกจากอัมเบดการ์แล้ว ยังมีทลิตหรือที่คนไทยนิยมเรียกว่าจัณฑาลอีก 29 คนประกอบเป็นสมาชิกสภาฯ ด้วย ดังนั้น ที่มักจะกล่าวกันว่า รัฐธรรมนูญอินเดียเป็นผลผลิตของจัณฑาลเพียงคนเดียวนั้น จึงหาใช่ข้อเท็จจริงไม่ อัมเบดการ์เองก็เคยกล่าวในประเด็นนี้ต่อวุฒิสภาในวันที่ 2 กันยายน 1953 ด้วยความขุ่นเคืองว่า “... มีหลายส่วน[ในรัฐธรรมนูญ]ที่ไม่เป็นไปดังใจผม” ที่พบเห็นมากอีกคือ วรรณกรรมภาษาไทยที่เกี่ยวกับอัมเบดการ์จำนวนไม่น้อย เน้นอธิบายอัมเบดการ์ในมิติใดมิติหนึ่งเท่านั้น โดยเฉพาะมิติที่สัมพันธ์กับการนับถือศาสนาพุทธของเขา ซึ่งน่าจะสะท้อนว่า คนไทยส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาพุทธรู้สึกพึงพอใจกับบทบาทของอัมเบดการ์ในฐานะบุคคลที่นำศาสนาพุทธกลับคืนสู่แหล่งกำเนิดอีกครั้ง และอาจจะสะท้อนด้วยว่า ชาวไทยที่ประสงค์จะส่งเสริมศาสนาพุทธสามารถใช้อัมเบดการ์เป็นตัวอย่างรูปธรรมในการสำแดงความสำคัญของศาสนาพุทธที่ยังเกี่ยวข้องกับชีวิตคนในปัจจุบัน วิถีคิดในลักษณะนี้ย่อมไม่ผิด ถึงแม้อัมเบดการ์จะมิใช่ชาวฮินดูคนแรกที่เปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธในประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่ แต่เขาคือบุคคลสำคัญที่สุดในเรื่องนี้ เพราะเขาคือผู้ให้กำเนิดขบวนการพุทธใหม่ในอินเดีย ทำให้ชาวทลิตจำนวนมากเลือกปลดแอกความเป็นคนนอกวรรณะในศาสนาฮินดูโดยหันไปนับถือศาสนาพุทธ ดังที่อัมเบดการ์เคยประกาศในปี 1935 ว่า “แม้ว่าจะเกิดเป็นฮินดู แต่ไม่ขอตายในสภาพฮินดู” ก่อนที่เขาจะเปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 ตุลาคม 1956 และภรรยาคนที่สองผู้เกิดในวรรณะพราหมณ์กับสาวกของเขาเกือบหกแสนคนก็ปฏิบัติตามเขา การสำรวจประชากรอินเดียปี 2001 บอกเราด้วยว่า มีชาวอินเดียที่นับถือศาสนาพุทธทั้งหมด 7.95 ล้านคน ในจำนวนนี้มีอดีตทลิตมากถึง 5.83 ล้านคน อย่างไรก็ตาม การมองอัมเบดการ์ในมิติที่เขานับถือศาสนาพุทธอันสัมพันธ์กับการปลดแอกทลิตโดยลำพัง อาจทำให้เราเข้าใจเขาได้อย่างไม่ครอบคลุม แท้จริงแล้ว อัมเบดการ์มิได้เป็นเพียงผู้นำของชาวทลิต หรือของผู้คนวรรณะล่างที่ถูกกดขี่เท่านั้น หากแต่เขาเป็นผู้นำแห่งชาติที่มีลักษณะต่างจากผู้นำอินเดียคนอื่นๆ ในยุคสมัยของเขา เช่น มหาตมาคานธีที่นำขบวนการชาตินิยมเรียกร้องเอกราชอินเดียจากบริติชราช ชาตินิยมของอัมเบดการ์สำแดงผ่านงานเขียนและการทำงานของเขา นอกจากเรื่องวรรณะและศาสนาพุทธแล้ว เขาได้เขียนเกี่ยวกับประเด็นปัญหามุสลิม ชนกลุ่มน้อย ปากีสถาน และสตรีด้วย ในด้านการทำงาน นอกจากอัมเบดการ์จะมีบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญและสถาปนาประชาธิปไตยอินเดียแล้ว เขายังมีส่วนสำคัญในการสร้างแผนพัฒนาประเทศ สร้างนโยบายด้านชลประทานและพลังงาน และสร้างสถาบันการศึกษาด้วย ทั้งหมดที่กล่าวมายังไม่รวมถึงการที่เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกฎหมายคนแรกหลังอินเดียได้รับเอกราช ซึ่งกิจกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือการวางแนวทางกฎหมายรัฐบัญญัติว่าด้วยฮินดูเพื่อเป็นกฎบัตรแห่งสิทธิสตรีในอินเดีย เมื่อกล่าวถึงอัมเบดการ์ในฐานะผู้นำแห่งชาติ จำต้องเข้าใจด้วยว่า วิถีคิดของเขาทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมน่าเลื่อมใสมาก เขามิได้มองการแก้ปัญหาที่อินเดียเผชิญอย่างแยกส่วน แม้เขาจะมีศรัทธาในประชาธิปไตยอันมีรัฐธรรมนูญรองรับ แต่เขาเชื่อมั่นอย่างหนักแน่นด้วยว่า รัฐธรรมนูญไม่ว่าจะมีเนื้อหาดีแค่ไหนก็ตาม หาใช่ยาวิเศษในการแก้ปัญหาทั้งหมดไม่ ผู้คนโดยเฉพาะผู้มีอำนาจหน้าที่จักต้องมีศีลธรรมจรรยาในการใช้รัฐธรรมนูญเพื่อให้รัฐธรรมนูญบังเกิดผลได้ดี ดังที่เขากล่าวไว้อย่างถูกต้องว่า “… ไม่ว่ารัฐธรรมนูญจะดีสักเพียงใดก็ตาม ผลก็ต้องออกมาแย่อยู่ดี เพราะผู้ใช้รัฐธรรมนูญบังเอิญเป็นคนไม่ดี ไม่ว่ารัฐธรรมนูญจะแย่สักเพียงใดก็ตาม ผลก็ยังออกมาดีได้ ถ้าผู้ใช้รัฐธรรมนูญบังเอิญเป็นคนดี” ณ จุดนี้ คงทำให้เห็นภาพบ้างแล้วว่า ความคิดของอัมเบดการ์คล้ายกับของมหาตมาคานธีอยู่บ้าง ซึ่งต่างจากความเชื่อที่ว่าอัมเบดการ์กับคานธีนั้นไม่เห็นลงรอยในทุกเรื่องทุกประเด็นอย่างสิ้นเชิง ทั้งสองมองไปไกลกว่าเอกราชทางการเมืองจากอังกฤษ แต่อัมเบดการ์ก็แตกต่างจากมหาตมาคานธีตรงที่ว่า เขามุ่งมั่นที่จะทำลายระบอบโบราณของอินเดียที่สร้างความชอบธรรมต่อการคงอยู่ของระบบวรรณะ ในขณะที่มหาตมาคานธีผู้ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการกีดกันทางวรรณะมองเห็นระบอบโบราณอินเดียเป็นประโยชน์ไม่น้อยในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ ความพยายามของอัมเบดการ์มุ่งเน้นไปยังการสร้างชาติ การสร้างความเสมอภาคทางสังคม และการบูรณาการทางวัฒนธรรม ดังที่เขากล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า “การต่อสู้ของเรานั้น ใช่เพื่อความมั่งคั่ง ฤๅใช่เพื่ออำนาจ การต่อสู้ของเรานั้น เพื่ออิสรภาพ เพื่อประกาศสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์” มิน่าแปลกใจด้วยว่าทำไมอัมเบดการ์จึงยึด ‘เสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพ’ เป็นหลักแห่งชีวิต ชาวอินเดียจำนวนมากนิยมเรียกอัมเบดการ์ด้วยความเคารพรักว่า ‘บาบาซาเฮบ’ หรือพ่อ คำว่า ‘บาบา’ เป็นคำที่ในหลายภูมิภาคของอินเดียนิยมใช้เรียกบุรุษที่น่าเคารพนับถือ ซึ่งอาจจะหมายถึงเทพ นักบวช หรือสมาชิกครอบครัว เช่น พ่อ ลุง หรือปู่ก็ได้ ในกรณีที่ใช้กับอัมเบดการ์มักจะหมายถึงพ่อ เช่นเดียวกับผู้คนที่เรียกมหาตมาคานธีว่า ‘บาปู’ ในขณะที่คำว่า ‘ซาเฮบ’ จะหมายถึงท่านหรือคุณ รวมกันแล้วจะแปลเป็นภาษาไทยได้ว่าคุณพ่อ ในปัจจุบันผู้คนที่เคารพรักอัมเบดการ์อาจจะให้ความหมายต่อ ‘บาบาซาเฮบ’ แตกต่างกันไป มีผู้คนจำนวนหนึ่งด้วยที่ใช้คำว่า ‘บาบาซาเฮบ’ ในความหมายที่ว่าอัมเบดการ์คือบุคคลผู้มีความรอบรู้ดีและฉลาดปราดเปรื่อง อัมเบดการ์เกิดวันที่ 14 เมษายน ปี 1891 ในเมืองเล็กๆ ที่มีทหารรักษาการณ์ในตอนกลางประเทศอินเดีย เขาเป็นบุตรคนสุดท้อง (คนที่ 14) ของรามยีกับภิมาไบ สังก์ปาล อัมเบดการ์เป็นเด็กที่ถูกตามใจและเป็นที่รักของครอบครัวมาก ที่บ้านมักจะเรียกเขาด้วยชื่อเล่นอย่างรักใคร่ว่าภิมาหรือภิวา ครอบครัวของอัมเบดการ์เป็นคนนอกวรรณะที่เรียกว่าทลิต ภาษาอังกฤษนิยมใช้คำว่า ‘Untouchable’ เรียกสลับสับเปลี่ยนกับทลิตด้วย คำว่า ‘Untouchable’ หมายถึงผู้ห้ามแตะเนื้อต้องตัว ตามความเชื่อที่ว่าหากผู้มีวรรณะโดยเฉพาะพราหมณ์แตะเนื้อต้องตัวแล้ว จะทำให้ตนแปดเปื้อนได้ ทลิตในอินเดียแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มด้วยกัน ครอบครัวของอัมเบดการ์เป็นมหาร ซึ่งเป็นทลิตกลุ่มใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งในอินเดีย การที่มหารอยู่กันอย่างแพร่หลายในฝั่งตะวันตกของอินเดีย หรือรัฐมหาราษฏร์ในปัจจุบัน ทำให้เกิดสำนวนว่า ‘ที่ใดมีหมู่บ้าน ที่นั่นมีที่พักพวกมหาร’ กล่าวได้ว่า มหารเป็นกลุ่มที่ก้าวหน้าและมีพลวัตที่สุดในหมู่ทลิตด้วยกัน ทั้งในเชิงสติปัญญาทั่วไป ความยืดหยุ่นทางกายภาพ และความปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้ มหารจำนวนหนึ่งเป็น “คนรับใช้ในหมู่บ้าน ผู้ทำหน้าที่ที่ตนได้รับสืบทอดจากบรรพบุรุษ ในการรับใช้หัวหน้า นักการเมืองระดับสูง และกลุ่มผู้มีอิทธิพลในหมู่บ้าน” พวกเขาได้รับจัดสรรที่ดินผืนเล็กๆ แลกกับการรับใช้ดังกล่าว และพวกเขายังเป็นแรงงานภาคเกษตรกรรมอีกด้วย ในหลายพื้นที่ของรัฐโดยเฉพาะในฝั่งตะวันออกของรัฐมหาราษฏร์ บางครั้งพวกเขาก็มีทรัพย์สินมากกว่านั้น และบางคนก็กลายเป็นชาวนาที่ร่ำรวยหรือแม้กระทั่งเจ้าที่ดินด้วย และยังพบได้อีกว่า มหารจำนวนหนึ่งประกอบอาชีพเป็นแรงงานในอุตสาหกรรมสมัยอาณานิคมอังกฤษ ในขณะเดียวกันก็มีมหารเช่นทลิตกลุ่มอื่นที่ประกอบอาชีพซึ่งคนวรรณะสูงไม่ต้องการทำด้วย นั่นคือ เก็บกวาดซากสัตว์และเศษอาหาร มหารส่วนใหญ่มีประเพณีด้านวัฒนธรรม-ศาสนาที่เชื่อมพวกเขากับขนบที่กว้างกว่าของชุมชนชนบท และสำแดงความนิยมความเท่าเทียมของมนุษย์ และปณิธานในการกอบกู้อิสรภาพของพวกเขา บางคนเป็นพวกวารกรี ซึ่งเป็นสาวกลัทธิวิโฐพา อันเป็นขบวนการภักติหลักของรัฐมหาราษฏร์ บางคนเป็นพวกมหานุภาพ ซึ่งเป็นสมาชิกขบวนการนิยมความเท่าเทียมที่ยิ่งเก่าแก่ขึ้นไปอีก จากชุมชนนี้เกิดขอทานพเนจรขึ้นหลายๆ แบบ ซึ่งมักจะแสดงความเห็นเกี่ยวกับขนบพราหมณ์ หรือมิใช่พราหมณ์ หรือมุสลิมที่พบในชนบทแบบที่ตนเองสังเคราะห์ขึ้นเอง ครอบครัวของอัมเบดการ์เป็นศิษย์สำนักปรัชญากบีร์ กบีร์ผู้เกิดเป็นมุสลิมและน่าจะมีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 15 นั้น จัดว่าเป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่อยู่ในขบวนการฮินดูอันกว้างขวางที่รู้จักกันในนามภักติ ซึ่งมักจะใช้บทกวีและเพลงซึ่งมิได้แต่งเป็นภาษาสันสกฤต แต่เป็นภาษาพื้นบ้าน เพื่อเปลี่ยนแปลงความยึดติดแบบล้าสมัยในสังคม การเกิดขบวนการภักติในอินเดียเหนือคู่ขนานไปกับการแผ่ขยายของขบวนการซูฟีในอิสลาม ทั้งสองขบวนการนี้ต่างก็ยอมรับความคิดเรื่องความสัมพันธ์ส่วนบุคคลกับพระเจ้า นักบวชหรือมุลเลาะห์นั้นไม่จำเป็น พิธีกรรมอันเคร่งครัดก็ไม่จำเป็น ถ้อยคำประกาศศรัทธาอย่างจริงใจ ไม่ว่าจะพูดออกมาอย่างหยาบกระด้างเพียงใด แต่ก็ยังมีพลังที่จะไปถึงหูของพระเจ้า โดยรวมแล้ว กบีร์ได้สั่งสอนต่อต้านวรรณะ และยึดมั่นอุดมคติแห่งความเท่าเทียมของมนุษย์ในสายตาของพระเจ้า ดังบทกวีบทหนึ่งของเขาที่น่าจะสะท้อนตัวตนได้ไม่น้อย สูตามหาเราในหนใดเล่า ก็ตัวเราอยู่กับสู ใช่อยู่ไหน จาริกรอนแรมนานศาลเจ้าใดถึงแม้ปลีกวิเวกไป ไม่พบพลัน ไม่เห็นเราทั้งในวัดในสุเหร่า ไม่มีเราที่หินใหญ่ ไกรลาสสวรรค์ มนุษย์เอ๋ย เรากับสูอยู่ด้วยกัน ในสูนั้นมีเราอยู่เนานาน มิใช่ในมนต์ธรรมกรรมบถ มิใช่ในศีลพรตอดอาหาร มิใช่ในโยคีผู้มีฌาน มิใช่ในปวงทานหว่านบำเพ็ญ หาในห้วงอากาศ ไม่อาจพบ ค้นจนจบโลกธาตุ ไม่อาจเห็น แม้ในครรภ์ธรรมชาติ ไม่อาจเป็น เสาะในสิ่งลึกเร้น ไม่ผ่านตา เพียรค้นดูแล้วสูจะได้พบ ได้ประสบในยามนั้นที่มั่นหา เงี่ยหูฟังกบีร์ท่านจะพรรณนา ในศรัทธาของสู เราอยู่เอยฯ

 Cr. Mgronline.com รามยีพ่อของอัมเบดการ์มิได้เป็นเพียงสาวกกบีร์บำเพ็ญการสวดมนต์และพิธีกรรมของนิกายกบีร์ปันถีเท่านั้น แต่ยังเป็นมังสวิรัติ และงดเว้นสุราเมรัยอีกด้วย ลุงของรามยีคนหนึ่งก็เป็นสันยาสีนิกายโคสาวี และเขานี่เองที่เป็นผู้ทำนายในการพบปะพ่อแม่ของอัมเบดการ์โดยมิได้นัดหมายในปี 1879 ว่าครอบครัวของรามยีจะผลิตบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ผู้จะปลดแอกประชาชนของพวกเขาจากการกดขี่และฝากรอยประทับไว้ในประวัติศาสตร์ การที่มหารเลือกศรัทธาในนักบุญสายภักติ หรือที่รามยีเลือกเดินตามรอยเท้าท่านกบีร์ผู้ซึ่งประณามความตายตัวของระบบวรรณะ ก็น่าจะบอกได้ว่าการต่อสู้กับระบบวรรณะมีมานมนานแล้ว จะว่าไปแล้วการต่อสู้กับความเลวร้ายอันเป็นผลมาจากระบบวรรณะนั้น เริ่มตั้งแต่มหาวีระ พระพุทธเจ้า ขบวนการภักติ ลัทธิซูฟี จนมาถึงโชติราว ฟูเล ผู้ซึ่งน่าจะเกิดในปี 1827 และถึงแก่กรรมในปี 1890 ประมาณหนึ่งปีก่อนอัมเบดการ์จะถือกำเนิด ฟูเลซึ่งเป็นคนในวรรณะศูทรนอกจากจะต่อต้านระบบวรรณะแล้ว ยังพยายามจัดหาการศึกษาให้คนวรรณะล่างและนอกวรรณะได้มีโอกาสลืมตาอ้าปากด้วย ดังที่เขาได้แสดงความคิดของตนไว้ว่า “ปราศจากการศึกษา ความรู้ก็เสื่อมสูญ ปราศจากความรู้ การพัฒนาก็เสื่อมสูญ ปราศจากการพัฒนา ความมั่งคั่งก็เสื่อมสูญ ปราศจากความมั่งคั่ง ศูทรก็ฉิบหาย” อังกฤษมองเห็นว่า มหารที่พากเพียรและซื่อสัตย์เหมาะอย่างยิ่งที่จะเป็นทหารในกองทัพอังกฤษประจำอินเดีย ด้วยเหตุนี้บรรพบุรุษของอัมเบดการ์จึงเป็นผู้คนกลุ่มหนึ่งที่ได้รับเลือกให้เป็นทหาร รามยีพ่อของอัมเบดการ์เป็นทหาร ฝั่งแม่ภิมาไบก็มาจากครอบครัวทหารเช่นเดียวกัน และเพราะอังกฤษมีสวัสดิการด้านการศึกษาให้บุตรและบุตรีทหาร จึงทำให้พ่อแม่ของอัมเบดการ์มีการศึกษา นี่เป็นปัจจัยสำคัญข้อหนึ่งที่ทำให้อัมเบดการ์มุ่งมั่นที่จะมีการศึกษาสืบไป กล่าวได้ด้วยว่า การที่อังกฤษประสงค์จะมีกองกำลังทหารที่เข้มแข็งเพื่อยึดครองขูดรีดอินเดียอย่างต่อเนื่อง ทำให้อังกฤษเปิดทางให้คนด้อยโอกาสเข้มแข็งขึ้น อรุณธตี รอย นักเขียนชื่อดังของอินเดียได้กล่าวถึงลักษณะย้อนแย้งนี้ของจักรวรรดิอังกฤษว่า “พวกอังกฤษถลุงเอาทรัพย์ของ[อนุ]ทวีปหนึ่งเสียเกลี้ยง … แต่พวกเขาก็กลับเปิดทางให้ฟูเล อัมเบดการ์ และคนอื่นๆ เข้ามาในวงสนทนา และเปลี่ยนแปลงมันด้วย” อัมเบดการ์เกิดในยุคสมัยที่การกีดกันทางวรรณะเลวร้ายกว่าทุกวันนี้มาก รามยีใช้นามสกุลอัมบาวาเดการ์ แทนสังก์ปาล คำว่า ‘อัมบาวาเด’ มาจากชื่อหมู่บ้านบรรพบุรุษของตน ส่วน ‘การ์’ หมายถึงสถานที่ รวมกันแล้วจะแปลว่าที่อัมบาวาเด เหตุที่รามยีเลือกใช้นามสกุลนี้แทนสังก์ปาล ก็เพราะนามสกุลสังก์ปาลบ่งบอกความเป็นคนนอกวรรณะอย่างชัดแจ้ง รามยีเกรงว่าหากใช้สังก์ปาลต่อไปอาจจะทำให้ตนและครอบครัวประสบความทุกข์ยากไม่น้อย โดยเฉพาะเมื่อต้องออกจากค่ายทหารที่ซึ่งแทบจะไม่มีการกีดกันทางวรรณะ ไปเผชิญกับโลกแห่งความเป็นจริงที่ซึ่งวรรณะมักจะเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดชีวิต และแล้ววันนั้นก็มาถึง หลังจากรามยีปลดเกษียณจากอาชีพทหาร เขาย้ายครอบครัวไปอาศัยอยู่ในดาโปลีในอำเภอรัตนคีรี และจากนั้นย้ายไปสตาราในปี 1894 เมื่อรามยีได้ตำแหน่งเป็นคนเฝ้าร้านในกรมสาธารณูปโภค ที่นั่นอัมเบดการ์ศึกษาในโรงเรียนค่ายทหารและหลังจากนั้นจึงเข้าเรียนชั้นมัธยมปลายปีแรกในโรงเรียนมัธยมปลายของรัฐบาลที่สอนด้วยภาษาอังกฤษในปี 1900 ชื่อของอัมเบดการ์ในทะเบียนโรงเรียนแห่งนี้คือ ภิวา รามยี อัมเบดการ์ เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะครูที่มีวรรณะพราหมณ์ชื่ออัมเบดการ์ แม้ครูคนนี้จะละเลยหน้าที่การสอนโดยใช้เวลาสอนบริหารจัดการร้านของตน แต่เขาจะห่วงใยเด็กนักเรียนมากเป็นพิเศษ ภิวาเป็นหนึ่งในนักเรียนที่เขาโปรดปรานมาก ครูคนนี้เป็นคนจัดหาอาหารกลางวันให้เขาทุกวันที่มีการเรียนการสอน ทำให้เขาไม่ต้องเดินไกลกลับไปกินอาหารที่บ้าน เพื่อเป็นเกียรติแก่ครูคนนี้ทลิตภิวาจึงเลือกใช้นามสกุลอัมเบดการ์ ครั้นเมื่อพบครูคนนี้อีกครั้งในปี 1927 ซึ่งเขาเริ่มมีชื่อเสียงบ้างแล้ว เขายกย่องสรรเสริญครูคนนี้มาก ด้วยประการฉะนี้ นามสกุลของผู้นำที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่หรือบุคคลสำคัญที่สุดที่ประสบความสำเร็จในการต่อสู้กับระบบวรรณะอย่างสำคัญ จึงมาจากชื่อของครูวรรณะพราหมณ์ผู้ละเลยหน้าที่การสอน แต่มีจิตใจดีงามผู้นี้นั่นเอง ผู้รับผิดชอบดูแลการศึกษาอัมเบดการ์คือภิมาไบมารดาของเขา แต่หลังจากเธอถึงแก่กรรมพ่อก็เป็นผู้ดูแลการศึกษาของอัมเบดการ์แทนมาโดยตลอด รามยีผู้มีความรู้ความสามารถในภาษาอังกฤษ มราฐี และอักษรโมฑี มักจะปลุกลูกในเวลาตีสองเพื่ออ่านหนังสือเตรียมสอบ เขาคาดหวังว่าลูกจะมิเพียงสอบผ่านเท่านั้น แต่จะต้องสอบได้คะแนนดีมากด้วย ทลิตคนหนึ่งบอกผู้เขียนว่า ที่รามยีเข้มงวดกวดขันเพื่อให้ลูกเรียนหนังสือเก่งๆ น่าจะเป็นเหตุผลเดียวกันกับทลิตจำนวนหนึ่ง “การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดสำหรับทลิต เพราะการศึกษานอกจากจะทำให้เรามีโอกาสหลุดพ้นจากวงจรอันเลวร้ายได้แล้ว ยังเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่จะใช้ปกป้องตัวเราและชาวทลิตคนอื่นด้วย” นอกจากเนื้อหาที่เกี่ยวกับหลักสูตรแล้ว รามยีมักจะสอนให้ลูกเตรียมตัวเผชิญการดูถูกเหยียดหยาม เช่น การต้องห้ามดื่มน้ำจากบ่อน้ำบางบ่อ การต้องห้ามมิให้รับประทานอาหารร่วมกับเพื่อนนักเรียนที่มีวรรณะ การห้ามศึกษาภาษาสันสกฤต และอื่นๆ พร้อมกันนี้รามยีก็ปลูกฝังความหาญกล้าที่จะท้าทายการตีตราทางวรรณะอันเลวร้ายให้ลูกด้วย แม้พ่อจะเตรียมตัวให้ลูกบ้างแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ง่ายที่ลูกจะทำใจได้เมื่อต้องถูกเลือกปฏิบัติอย่างโจ่งแจ้ง ในโรงเรียนที่สตารา อัมเบดการ์วัยเยาว์ต้องประสบการกีดกันอันน่าเศร้าสลด เขากับเพื่อนอีกไม่กี่คนถูกแยกไม่ให้นั่งร่วมกับเพื่อนนักเรียนที่มีวรรณะ เขาและเพื่อนนอกวรรณะไม่ได้รับอนุญาตให้คบค้าสมาคมหรือเล่นกับเพื่อนที่มีวรรณะ ครูสอนสันสกฤตไม่อนุญาตให้ทลิตเรียนสันสกฤต เพราะความเชื่อที่ว่าทลิตต่ำต้อยและแปดเปื้อนเกินกว่าจะศึกษาสันสกฤตภาษาอันศักดิ์สิทธิ์และสูงส่ง ดังนั้นแล้ว อัมเบดการ์จำต้องเลือกเรียนภาษาเปอร์เซีย ทั้งๆ ที่ตนประสงค์จะเรียนสันสกฤต นอกจากนี้ ครูก็ไม่ต้องการมีปฏิสัมพันธ์ใดๆ กับเขาและเด็กนักเรียนทลิตคนอื่น ภายนอกโรงเรียนการกีดกันทางวรรณะก็ใช่ว่าจะน้อยกว่าภายใน จะหาร้านตัดผมที่ยอมตัดผมทลิตแม้แต่ร้านเดียวก็ไม่ได้ ประสบการณ์อันทุกข์ทรมานนอกจากจะมิได้ทำให้อัมเบดการ์เป็นเหยื่อของระบบวรรณะอันเลวร้ายเท่านั้น ยิ่งอัมเบดการ์เติบโต เขายิ่งมีภาพพจน์เป็นเด็กที่ควบคุมยาก และชอบโต้เถียงกับผู้คน สันนิษฐานได้ว่า อัมเบดการ์ผู้ซึ่งไม่พอใจกับการถูกเลือกปฏิบัติเพราะการตีตราทางวรรณะเลือกใช้กลไกท้าทายอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี 1904 เมื่อรามยีต้องเลิกทำงานเพราะสิ้นสุดสัญญาจ้าง เขาจำต้องพาครอบครัวย้ายไปบอมเบย์ (ปัจจุบันคือมุมไบ) ในเวลานั้นรามยีเริ่มประสบปัญหาทางการเงินแล้ว เงินบำนาญที่มีอยู่ก็ใช่ว่าจะพอ ไหนจะต้องจ่ายค่าเช่าห้อง รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในบ้าน และซื้อหนังสือให้อัมเบดการ์เล่าเรียนอีก พี่ชายของอัมเบดการ์ชื่อพลราม จึงเลิกเรียนหนังสือไปทำงานในโรงงานเพื่อช่วยค้ำจุนบ้าน ทันทีที่ย้ายไปบอมเบย์ อัมเบดการ์ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมมราฐาในปาเรล ก่อนจะย้ายไปเรียนที่โรงเรียนมัธยมเอลฟินสโตน โดยจ่ายค่าเล่าเรียนลดหย่อน เมื่ออัมเบดการ์อายุ 14 ปี พ่อรามยีให้เขาแต่งงานกับรามาไบวัยเก้าขวบ ในปี 1912 รามาไบให้กำเนิดบุตรชายชื่อยศวันต์ หลังจากนั้นระหว่างปี 1913 ถึง 1924 ทั้งคู่มีลูกอีก 4 คน แต่ทั้งสี่เสียชีวิตหมด มีเพียงยศวันต์ลูกชายคนแรกเท่านั้นที่อยู่รอด ณ โรงเรียนมัธยมปลายเอลฟินสโตน อัมเบดการ์ได้สำแดงความสามารถในการเล่าเรียนเป็นครั้งแรก อาจจะเป็นไปได้ว่า อัมเบดการ์เริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาด้วยตนเองเป็นครั้งแรกที่บอมเบย์ ทั้งนี้แม้บอมเบย์จะเป็นเมืองที่มีการกีดกันน้อยกว่าดาโปลี หรือสตารา แต่อัมเบดการ์ก็ไม่มีเพื่อนนักเรียน ครูส่วนใหญ่ที่โรงเรียนก็ไม่ได้สนใจเขา เขาชอบใช้เวลาอ่านหนังสือในสวนสาธารณะใกล้โรงเรียนตามลำพัง บุคคลหนึ่งที่เคยไปใช้สวนสาธารณะแห่งนี้และสังเกตเห็นความทะเยอทะยานของอัมเบดการ์คือ กฤษณะ อรชุนราว เกลุสการ์ นักคิดนักปฏิรูปที่ดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนมัธยมปลายวิลสัน เกลุสการ์เป็นผู้แนะนำตนต่ออัมเบดการ์และหลังจากนั้นก็กลายเป็นบุคคลสำคัญในการสนับสนุนอัมเบดการ์ ในปี 1907 อัมเบดการ์สอบผ่านชั้นมัธยมปลาย ถือเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งสำหรับยุคสมัยนั้นซึ่งผู้คนชาวอินเดียยังเรียนหนังสือในระดับสูงไม่มากนัก และหากเปรียบเทียบกับทลิตโดยทั่วไปแล้ว ก็นับว่าเป็นความสำเร็จที่โดดเด่นที่สุด ณ บัดนี้แลดูคล้ายว่า ทลิตที่มีนามว่าอัมเบดการ์มองเห็นแล้วว่าตนจะศึกษาให้มากที่สุด ยิ่งเป็นคนนอกวรรณะ ตนยิ่งเห็นความจำเป็นที่จะรู้จริงและมีปริญญาบัตรรับประกัน เพื่อมิให้ใครมีโอกาสใช้ความรู้กดขี่ตนหรือผู้ถูกกดขี่ทางวรรณะคนอื่นๆ อีก อัมเบดการ์โชคดีมาก ทันทีที่ตนจบการศึกษาในปี 1907 เกลุสการ์จัดหาทุนให้เขาเรียนต่อในระดับปริญญาตรีจากรัฐบโรดา หนึ่งในรัฐเจ้านครที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย นอกจากนั้นยังว่ากันว่า เกลุสการ์ได้นำหนังสือพุทธประวัติที่เขาเป็นผู้เขียนมามอบให้อัมเบดการ์อีกด้วย อัมเบดการ์ศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยเอลฟินสโตน (สังกัดมหาวิทยาลัยบอมเบย์) โดยได้รับทุนการศึกษาเดือนละ 25 รูปีจากผู้ปกครองบโรดา มหาราชาสายาจีราว คายกวาท กษัตริย์ผู้มีหัวปฏิรูป ณ ที่นี้เช่นกัน เขาไม่ค่อยจะสุงสิงกับเพื่อนนักศึกษามากนัก ในปี 1913 อัมเบดการ์จบปริญญาตรีสาขาภาษาอังกฤษและภาษาเปอร์เซีย และในปีเดียวกันนั้นอัมเบดการ์เข้าทำงานในบโรดาเพื่อสำแดงความกตัญญูรู้คุณต่อท่านมหาราชา รามยีไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของอัมเบดการ์ เพราะเขาประสงค์จะให้ลูกชายของตนอยู่ในบอมเบย์ที่ซึ่งมีวัฒนธรรมความเป็นสากลบ้าง แต่อัมเบดการ์ยืนกรานที่จะทำตามสิ่งที่ตนปรารถนา ครั้นเมื่อเขาเดินทางถึงบโรดา อัมเบดการ์คงเข้าใจแล้วว่าทำไมพ่อรามยีจึงไม่อยากให้ลูกไปจากบอมเบย์ การกีดกันทางวรรณะในคุชราตอันเป็นส่วนหนึ่งของบโรดานั้นย่ำแย่มาก ไม่มีสถานที่พักใดประสงค์จะรับทลิต ยกเว้นที่พักของสำนักงานอารยสมาช อัมเบดการ์ไม่อาจหางานดีๆ ทำได้ แต่ละกรมเคลื่อนย้ายเขาไปทำงานใหม่เรื่อยๆ ไม่ให้เขามีงานถาวร เขารู้แล้วว่าในคุชราตท่ามกลางการครอบงำของคนวรรณะพราหมณ์ไม่มีทางที่เขาจะทำอะไรได้มากกว่าที่เป็นอยู่ เขารอโอกาสที่จะลาออกและกลับบอมเบย์ ทว่าโอกาสนั้นไม่มาสักทีจนกว่าเขาจะทราบข่าวว่าพ่อรามยีถึงแก่กรรมแล้ว เขารีบกลับบอมเบย์ ณ บัดนี้พ่อที่พยายามปลุกปั้นให้ลูกมีความรู้ความสามารถเพื่อว่าลูกจะหลุดพ้นออกจากวัฏจักรเลวร้ายแห่งวรรณะได้จากไปแล้ว ต่อจากนี้ไปไม่มีใครอีกแล้วที่จะคอยให้คำปรึกษา ในเดือนมิถุนายน ปี 1913 อัมเบดการ์ได้ทำข้อตกลงรับทุนไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยมีเงื่อนไขว่าทันทีที่เรียนจบ เขาจะกลับมาทำงานใช้ทุนให้รัฐ ในตอนต่อไปผู้เขียนจะพรรณนาประสบการณ์ของอัมเบดการ์ในตะวันตก ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าสำคัญต่อการทำความเข้าใจอัมเบดการ์อย่างครอบคลุม หมายเหตุ : ข้อมูลหลายส่วนในบทความนี้อ้างอิงจาก (1) Dhananjay Keer, Dr. Babasaheb Ambedkar: Life and Mission (Mumbai: Popular Prakashan, 1954, 2016); (2) K. Raghavendra Rao, Babasaheb Ambedkar (New Delhi: Sahitya Akademi, 1993, 2015); (3) Gail Omvedt, Ambedkar: Towards an Enlightened India (Haryana, India: Penguin Random House, 2004, 2008).



ดร.อัมเบดการ์ กับการพบรัก และการประกาศตนเป็นชาวพุทธ
          
          ดร.อัมเบดการ์ ได้พบรักกับแพทย์หญิงในวรรณะพราหมณ์คนหนึ่ง ชื่อว่า ชาดา คาไบ ในโรงพยาบาลที่เขาไปรับการรักษาอาการป่วย และเป็นครั้งแรกที่คนในวรรณะต่ำเช่นท่านได้แต่งงานกับคนในวรรณะสูง คือวรรณะพราหมณ์ และมีคนใหญ่คนโต นักการเมือง พ่อค้า คนในวรรณะต่างๆ มาร่วมงานแต่งงานของท่านมากมาย.หลังจากนั้น ดร.อัมเบดการ์ ได้ลงจากเก้าอี้ทางการเมือง ท่านถือว่าท่านไม่ได้ชื่นชอบกับตำแหน่งทางการเมืองอะไรนัก ที่ท่านเป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ก็เพราะท่านต้องการทำงานเพื่อเรียกร้องความถูกต้องให้แก่คนที่อยู่ในวรรณะ ต่ำที่ได้รับการข่มเหงรังแกเท่านั้น

          เหตุการณ์สำคัญประการหนึ่ง ที่ ดร.อัมเบดการ์ได้กระทำ และเป็นสิ่งซึ่งมีคุณูปการมากต่อพระพุทธ

ศาสนาในประเทศอินเดียคือ การเป็นผู้นำชาวพุทธศูทรกว่า ๕ แสนคน ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ซึ่ง ดร.อัมเบดการ์สนใจพระพุทธศาสนามานานแล้ว โดยเฉพาะจากการได้อ่านหนังสือพระประวัติของพระพุทธเจ้า ซึ่งเขียนโดยพระธัมมานันทะ โกสัมพี ชื่อว่า "ภควาน บุดดา"(พระผู้มีพระภาคเจ้า) ท่านได้ศึกษาแล้วว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่มีข้อรังเกียจในเรื่องวรรณะ ไม่ปิดกั้นการศึกษาพระธรรม ให้ความเสมอภาค และภราดรภาพ แก่คนทุกชั้น ในจิตใจของ ดร.อัมเบดการ์ เป็นชาวพุทธอยู่ก่อนแล้ว แต่ท่านตั้งใจจะทำให้เป็นรูปเป็นร่างยิ่งขึ้นก็คือ การปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธพร้อมกับพี่น้องชาวอธิศูทร ในงานฉลองพุทธชยันติ (Buddhajayanti)

          ดร.อัมเบดการ์ ได้กล่าวสดุดีพระพุทธศาสนา โดยเขียนหนังสือเผยแผ่พระพุทธธรรมหลายเล่ม เช่น "พุทธธรรม" (Buddha and His Dhamma) "ลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนา" (The Essential of Buddhism) และคำปาฐกถาอื่นๆ ที่ได้รับการตีพิมพ์ภายหลัง เช่น "การที่พระพุทธศาสนาหมดไปจากอินเดีย" (The down fall of Buddhism in india) เป็นต้น

          ก่อนหน้าที่จะมีงานฉลองพุทธชยันตี เป็นที่ทราบกันดีว่า อินเดียในขณะนั้น มีชาวพุทธอยู่แทบจะเรียกได้ว่าเป็น อัพโภหาริก คือน้อยจนเรียกไม่ได้ว่ามี แต่เหตุใดจึงมีงานฉลองนี้ขึ้น คำตอบนี้น่าจะอยู่ที่ ท่านยวาห์ ราล เนรูห์ ซึ่งได้กล่าวคำปราศรัยไว้ในที่ประชุมโลกสภา (รัฐสภาของอินเดีย) เรื่องการจัดงานฉลองพุทธชยันตี ว่า "พระพุทธเจ้า เป็นบุตรที่ปราดเปรื่องยิ่งใหญ่และรอบรู้ที่สุดของอินเดีย ในโลกนี้ซึ่งเต็มไปด้วยความวุ่นวาย เคียดแค้น และรุนแรง คำสอนของพระพุทธเจ้าส่องแสงเหมือนดวงอาทิตย์ที่รุ่งโรจน์ ไม่มีคนอินเดียคนใดที่จะนำเกียรติยศ เกียรติภูมิ กลับมาสู่อินเดียได้เท่ากับพระพุทธองค์ หากเราไม่จัดงานฉลองท่านผู้นี้แล้ว เราจะไปฉลองวันสำคัญของใคร"

          ในงานฉลองพุทธชยันตินั้น รัฐบาลอินเดียได้จัดสรรงบประมาณการจัดงาน ฉลองตลอด ๑ ปีเต็ม โดยวนเวียนฉลองกันไปตามรัฐต่างๆ รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณ อย่างเช่น ทำการตัดถนนเข้าสู่พุทธสังเวชนียสถานต่างๆให้ดีขึ้น สร้างธรรมศาลา อำนวยความสะดวกแก่ผู้มาร่วมงานพุทธชยันตีจากประเทศต่างๆ จัดพิมพ์หนังสือสดุดีพระพุทธศาสนา จัดทำหนังสือวิชาการพระพุทธศาสนา โดยนักปราชญ์หลายท่านเขียนขึ้น ประธานาธิบดีราธกฤษนัน เขียนคำนำสดุดีพุทธคุณ ให้ชื่อว่า "2500 years of Buddhism" (๒๕๐๐ ปีแห่งพระพุทธศาสนา) ทั่วทั้งอินเดีย ก้องไปด้วยเสียง พุทธัง สรณัง คัจฉามิ นำการปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ
          
          ส่วนในการปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ นั้น ดร.อัมเบดการ์ได้นำชาววรรณะศูทร ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะที่เมืองนาคปูร์ สาเหตุที่ท่านเลือกเมืองนี้แทนที่จะเป็นเมืองใหญ่ๆ อย่าง บอมเบย์ หรือเดลี ท่านได้ให้เหตุผลว่า "ผู้ที่ทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตอนแรกๆ นอกจากพระสงฆ์คือพวกชนเผ่านาค ซึ่งถูกพวกอารยัน
กดขี่ข่มเหง ต่อมาพวกนาคได้พบกับพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมจนพวกนาคเหล่านั้นเลื่อมใส ปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธและเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่ว เมืองนาคปูร์นี้ เป็นเมืองที่พวกนาคตั้งหลักแหล่งอยู่" 

(คำกล่าวของท่านอัมเบดการ์มีมูลอยุ่ไม่น้อย และจะว่าไปแล้ว หลังจากพระพุทธศาสนาเริ่มถูกทำลายจากอินเดีย เมืองนาคปูร์เป็นเมืองที่มีชาวพุทธอาศัยอยู่มาก และเป็นเมืองที่มีชนชั้นศูทร หรือคนวรรณะต่ำอยู่มากอีกด้วย ดังนั้นศูนย์กลางพุทธศาสนิกชนในอินเดียปัจจุบันที่เป็นคนวรรณะศูทร จึงอยู่ที่นาคปูร์)

          ในการปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ ๕ แสนคน เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ (๒๔๙๙ของไทย)นั้น มีพระภิกษุอยู่ในพิธี ร่วมเป็นสักขีพยานด้วย ๓ รูป คือ พระสังฆรัตนเถระ (Ven. M. Sangharatana Thera) พระสัทธราติสสะเถระ (Ven. S. Saddratissa Thera) และพระปัญญานันทะเถระ (Ven. Pannanand Thera) ในพิธีมีการประดับธงธรรมจักรและสายรุ้งอย่างงดงาม ในพิธีนั้น ผู้ปฏิญาณตนได้กล่าวคำปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ และ คำปฏิญญาน ๒๒ ข้อ ของ ดร.อัมเบดการ์ ดังนี้

๑. ข้าพเจ้าจะไม่บูชาพระพรหม พระศิวะ พระวิษณุต่อไป

๒. ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อว่าพระราม พระกฤษณะ เป็นพระเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่เคารพต่อไป

๓. ข้าพเจ้าจะไม่เคารพบูชาเทวดาทั้งหลายของศาสนาฮินดูต่อไป

๔. ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อลัทธิอวตารต่อไป

๕. ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าคืออวตารของพระวิษณุ การเชื่อเช่นนั้น คือคนบ้า

๖. ข้าพเจ้าจะไม่ทำพิธีสารท และบิณฑบาตแบบฮินดูต่อไป

๗. ข้าพเจ้าจะไม่ทำสิ่งที่ขัดต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า

๘. ข้าพเจ้าจะไม่เชิญพราหมณ์มาทำพิธีทุกอย่างไป

๙. ข้าพเจ้าเชื่อว่าทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้มีศักดิ์ศรีและฐานะเสมอกัน

๑๐. ข้าพเจ้าจะต่อสู้เพื่อความมีสิทธิเสรีภาพเสมอกัน

๑๑. ข้าพเจ้าจะปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ โดยครบถ้วน

๑๒. ข้าพเจ้าจะบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ โดยครบถ้วน

๑๓. ข้าพเจ้าจะแผ่เมตตาแก่มนุษย์และสัตว์ทุกจำพวก

๑๔. ข้าพเจ้าจะไม่ลักขโมยคนอื่น

๑๕. ข้าพเจ้าจะไม่ประพฤติผิดในกาม

๑๖. ข้าพเจ้าจะไม่พูดปด

๑๗. ข้าพเจ้าจะไม่ดื่มสุรา

๑๘. ข้าพเจ้าจะบำเพ็ญตนในทาน ศีล ภาวนา

๑๙. ข้าพเจ้าจะเลิกนับถือศาสนาฮินดู ที่ทำให้สังคมเลวทราม แบ่งชั้นวรรณะ

๒๐.ข้าพเจ้าเชื่อว่าพุทธศาสนาเท่านั้นที่เป็นศาสนาที่แท้จริง

๒๑. ข้าพเจ้าเชื่อว่าการที่ข้าพเจ้าหันมานับถือพระพุทธศาสนานั้นเป็นการเกิดใหม่ที่แท้จริง

๒๒. ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตนตามคำสอนของพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด

          หลังจากปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะแล้ว ท่านกล่าวว่า "ข้าพเจ้าเกิดมาจากตระกูลที่นับถือศาสนาฮินดู 

แต่ข้าพเจ้าจะขอตายในฐานะพุทธศาสนิกชน"

ดร.อัมเบดการ์ ถึงแก่กรรม
          
          เมื่อ ดร.อัมเบดการ์ ถึงแก่กรรมนั้น มีหลายท่านแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง เมื่อข่าวการมรณะกรรมของท่านแพร่สะพัดออกไป มีทั้งรัฐมนตรี นักการเมือง เดินทางมาเคารพศพและแสดงความเสียใจแก่ภรรยาของ ดร.อัมเบดการ์ นายกรัฐมนตรีเนรูห์ได้กล่าวอย่างเศร้าสลดว่า "เพชรของรัฐบาลหมดไปเสียแล้ว" ในวันต่อมา 
นายกรัฐมนตรีเนรูห์ได้กล่าวไว้อาลัย ดร.อัมเบดการ์ และสดุดีความดีของท่านอย่างมากมาย ตอนหนึ่งท่านได้กล่าวว่า "ชื่อของอัมเบ็ดการ์ จะต้องถูกจดจำต่อไปอีกชั่วกาลนาน โดยเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อลบล้างความอยุติธรรมในสังคมฮินดู อัมเบดการ์ต่อสู้กับสิ่งที่ทุกคนเห็นว่าเป็นสิ่งจำเป็นต้องต่อสู้ อัมเบดการ์ได้เป็นคน
ปลุกให้สังคมของฮินดูได้ตื่นจากความหลับ". นอกจากนี้ยังได้ให้มีการหยุดประชุมโลกสภา เพื่อไว้อาลัยแด่ ดร. อัมเบดการ์ ด้วย

          หลังจากนั้น ได้มีคนสำคัญต่างๆ และผู้ทราบข่าวการมรณกรรมของ ดร.อัมเบดการ์มากมาย ได้ส่งโทรเลขไปแสดงความเสียใจต่อภรรยาของ ดร.อัมเบดการ์ มุขมนตรีของบอมเบย์ คือนาย ชะวาน ถึงกับประกาศให้วันเกิดของ ดร.อัมเบดการ์ เป็นวันหยุดราชการของรัฐ เพื่อเป็นเกียรติแก่ดวงวิญญาณของ ดร.อัมเบดการ์

          ภรรยาของท่านต้องการจะนำศพของดร.อัมเบดการ์ ไปทำพิธียังบอมเบย์ รัฐบาลก็ได้จัดเที่ยวบินพิเศษให้ เมื่อเครื่องบินนำศพมาถึงบอมเบย์ ประชาชนหลายหมื่นคนได้มารอรับศพของ ดร.อัมเบดการ์ หลายคนที่ไม่สามารถอดกลั้นความเศร้าไว้ได้ต่างก็ร้องไห้ไปตามๆ กัน

ท้ายเรื่อง
          
          ดร.อัม เบดการ์ ผู้เกิดมาจากสังคมอันต่ำต้อย ต่อสู้เพื่อตัวเอง เพื่อสังคม และเพื่อประเทศชาติอันเป็นส่วนรวม ตั้งแต่เกิดจนวินาทีสุดท้ายของชีวิต บัดนี้ท่านได้จากไปแล้ว ทิ้งแต่ความดีเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้จดจำและสรรเสริญ. ชาวพุทธในอินเดียเชื่อว่า วิญญาณของ ดร.อัมเบดการ์คงยังไม่ไปไหน จะคงอยู่กับพวกเขา คอยช่วยพวกเขา เพราะ ดร.อัมเบดการ์ไม่เคยทิ้งคนจน ไม่เคยลืมคนยาก ช่วยเหลือพวกเขาอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ต่อท้ายจากบทสวดสังฆรัตนะ พวกเขาจึงอ้างเอา ดร.อัมเบดการ์ เป็นสรณะด้วย โดยสวดว่า

พิมพัง (ขื่อเดิมของ ดร.อัมเบดการ์) สรณัง คัจฉามิ อยู่จนทุกวันนี้.

(หมายเหตุ: "พิมพัง" เป็นขื่อเดิมของ ดร.อัมเบดการ์)

อ้างอิงที่มา : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=inthedark&month=31-07-2007&group=22&gblog=15


Sunday, July 29, 2018

Mountain ปรัชญาเซน ภูเขา

 



ก่อนที่หลวงจีนจะพาหญิงสาวขึ้นไปบนเขาสูง , ท่านถามหญิงสาวว่า : ภูเขานี้เป็นอย่างไร ?
หญิงสาวพูดว่า : ผาชัน, สูงใหญ่, สูงลิบลิ่ว, สวยงาม

อาจารย์พูดว่า : "ขึ้นเขากับข้า" ตลอดทางที่เดินขึ้นเขาไม่พูดสิ่งใดเลย
เดินไปเดินไป, หญิงสาวเหนื่อยแล้ว, ล้าแล้ว, ทางเดินไม่ง่ายเลย, หญิงสาวบ่นอย่างมากมาย.

เมื่อไปถึงยอดเขา, อาจารย์ถาม : "ภูเขาที่เจ้าเห็นเมื่อกี้นี้ล่ะ?"
หญิงสาวพูด : "ภูเขาลูกนี้ไม่ดี, มีแต่ทางเศษหิน, ต้นไม้ก็งอกไม่ดี.
แต่ว่า, มองออกไปไกลลิบๆ, ภูเขาลูกที่อยู่ตรงหน้าสวยกว่าเสียอีก."

อาจารย์แย้มยิ้ม, พูดว่า : "เมื่อเธอรู้จักกับคนๆหนึ่ง, ก็คือการมองดูภูเขาจากที่ไกลๆ,
ตาเต็มเปี่ยมไปด้วยความศรัทธา ;
เมื่อรู้จักแล้ว, ก็คือการเดินขึ้นเขา, ที่เธอมองเห็นล้วนแต่คือรายละเอียดธรรมดาทั่วไป ;
ไปถึงยอดเขา, ตาของเธอก็เห็นแต่เพียงภูเขาอีกลูกหนึ่งเท่านั้น

ภูเขาไม่ได้เปลี่ยน, ใจของเธอนั่นเองที่เปลี่ยน.
ตาของเธอเปลี่ยนไป, การมองก็เปลี่ยนไป.
เมื่อไม่มีความศรัทธาเทิดทูน, ภูเขาก็ไม่ได้สูงสง่าน่าคร้ามเกรงอีก.
เธอตัดพ้อต่อว่ายิ่งมาก, ก็ยิ่งได้รับบาดแผลมาก.
ทำไมเธอจึงสามารถมองเห็นภูเขาอีกลูกหนึ่งที่บนยอดเขาเล่า ?
เป็นเพราะภูเขาที่เธอเหยียบเอาไว้ใต้ฝ่าเท้ายกสายตาของเธอให้สูงขึ้นเท่านั้นเอง.

คนเราขอเพียงรู้จักถนอมรักสิ่งที่มีที่ครอบครองในบัดนี้, จึงจะมีความสุขที่แท้จริง !
รักถนอมคนทุกคนที่อยู่ข้างกาย, และเรื่องทุกเรื่องใกล้ๆตัวให้ดีๆ ,
สิ่งเหล่านี้คือบุญวาสนาที่ทำมาแต่ปางก่อนนับหมื่นปีของเธอ !


SE-ED ขอแนะนำหนังสือดีๆ


คำสอนเซน ภาคจิตวิญญาณแห่งพุทธะ


พระวรกายของตถาคต ทอดเหยียดยาวใต้ต้นสาละคู่นั้น ท่านทรงทอดพระเนตร เพ่งดูผืนแผ่นดินธรณีอีกคราหนึ่ง เสมือนพระพุทธองค์ทรงบอกให้พระเเม่ธรณีเป็นพยานให้แก่ตัวท่านอีกครั้ง
 "คำสอนเซน ภาคจิตวิญญาณแห่งพุทธะ" เล่มนี้ ได้ถ่ายทอดเนื้อหาธรรมที่ตรงตามแบบแผนแห่งคำสอนนิกายเซนในประเทศไทย จีน และญี่ปุ่น ซึ่งทางครูสอนเซนทั้งหลายในรุ่นก่อนๆ ได้สืบทอดคำสอนเหล่านี้มาโดยตรงจากองค์พระศาสดา เพื่อนำไปชี้ทางหลุดพ้นให้แก่บรรดาลูกศิษย์ของตนเอง มาหลายต่อหลายรุ่นแล้ว เป็นการสอนโดยมุ่งเน้นที่จะคุ้ยเขี่ยธรรมะให้ลูกศิษย์ ได้ตระหนักชัดและซีมซาบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ซึ่งคือ ตถตา ความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น มันเป็นธรรมชาติแห่งธรรม ที่อยู่นอกเหนือภาวะความหลุดพ้นและความไม่หลุดพ้น ธรรมะในหนังสือเล่มนี้จึงถูกเขียนขึ้นตามแบบแผนแห่งคำสอนเซนอย่างแท้จริง

Saturday, July 28, 2018

แค่แบมือขวาดูความยาวของนิ้วก็รู้นิสัยใจคอได้ ที่อเมริกากำลังฮิตดูกัน !!!




วิธีการดูของเค้าง่าย และ แม่นมาก แค่แบมือขวาดูความยาวของนิ้วก็รู้นิสัยใจคอได้ ที่อเมริกากำลังฮิตดูกัน รีบชวนเพื่อนๆ ญาติพี่น้องมากลองเช็คกันเลยว่าแม่นแค่ไหน

แบบ A นิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้ เป็นคนประเภทมีเสน่ห์ดึงดูดผู้คน

คนประเภทนี้มักจะมีคนชอบมารายล้อมอยู่เสมอ เป็นที่ชื่นชอบของใครๆที่ได้อยู่ใกล้ เรียกได้ว่า มีเสน่ห์ และก็สามารถใช้เสน่ห์มากทำให้ตัวเองเป็นจุดสนใจได้ แถมยังมีความสามารถในการแก้ปัญหาได้ยอดเยี่ยม ถ้าหากมีปัญหาที่แก้ไม่ตกล่ะก็ มาหาคนประเภทนี้จะช่วยให้คำปรึกษาได้ดีเชียวล่ะ

แบบ B นิ้วชี้ยาวกว่านิ้วนางเป็นคนประเภทมั่นใจในตัวเองที่ไว้ใจได้
คนประเภทนี้เปี่ยมไปด้วยความมั่นใจในตัวเอง ไม่ว่าต้องจัดการงานใดๆ เขาจะเป็นคนที่ทำออกมาได้ดี สามารถไว้ใจได้เลย ทำงานแบบลุยเดียวจะเก่งกว่าทำงานแบบทีมเวิร์ค เป็นคนไม่ชอบให้ใครมารบกวนถูกจุกจิกกวนใจ ปล่อยให้คนประเภทนี้ได้ทำตามวิธีของตัวเองแล้วผลลัพธ์จะออกมาดีแน่นอน

แบบ C นิ้วชี้กับนิ้วนางยาวพอๆกัน เป็นคนรักสันติ ไม่ชอบการต่อสู้ขัดแย้ง

คนประเภทนี้จะมีความประนีประนอมสูง เข้ากันได้กับผู้คนและ เพื่อนฝูง ชอบใช้ชีวิตแบบเรียบๆและมั่นคง ไม่ชอบการทะเลาะเบาะแว้ง จึงเข้ากับใครๆได้เก่ง แต่ถ้าหากคนประเภทนี้โกรธขึ้นมาล่ะก็ จะแรงมาก ต้องระวังให้ดี อย่าไปทำให้คนประเภทนี้โกรธเชียว

โดย อาจารย์ณัชชา (สพรั่ง) ปราณีรัตนา
แห่งสมาคมโหราศาสตร์นานาชาติ ราคาพิเศษ เพียง 204 บาท สั่งซื้อ!!!
ไพ่ยิปซี (ทาโร่ต์) ศาสตร์และศิลป์แห่งการดูดวงอีกแขนงหนึ่ง ซึ่งมีมาช้านาน ได้รับการยอมรับและเชื่อถือทั้งในอดีตและปัจจุบัน ความอัศจรรย์ของตัวเลขที่มีเพียงไม่กี่ตัวก็สามารถพยากรณ์ พร้อมทั้งอธิบายในเรื่องความเป็นมาและความเป็นไปของมนุษย์ได้อย่างเป็นเรื่องราว และยังทำให้เราได้ทราบถึงลักษณะนิสัยใจคอของบุคคลได้ดี และยังรวมถึงเรื่องในอดีต ปัจจุบัน อนาคต เรื่องงาน การเงิน ความรัก อุปสรรค ปัญหาสุขภาพ อาชีพ ฯลฯ ได้ระดับหนึ่ง

ไพ่ยิปซี (ทาโร่ต์)

  • พิมพ์ด้วยกระดาษถนอมสายตา
  • แถมฟรีไพ่ 1ชุด (78 ใบ) ตัวไพ่ทำด้วยกระดาษแข็งอย่างดี
  • เนื้อหาบอกเป็นขั้นเป็นตอน ง่ายต่อการอ่านทำความเข้าใจได้ด้วยตัวเอง
  • เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นฝึกฝน