VDO ด้านบนนี้ คือ วสิษฐ เดชกุญชร Vasit Dejkunjorn เล่าบันทึกความทรงจำ รอยพระยุคลบาท
Official Matichon TV สัมภาษณ์ พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร
พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร ตำรวจตงฉิน : หนึ่งในปูชนียบุคคลของสังคมไทย
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
คำว่า "ปูชนียบุคคล" นั้น เราใช้เรียกบุคคลที่ควรแก่การเคารพ ยกย่อง สรรเสริญ จากคุณงามความดีที่เต็มเปี่ยมไปด้วยจริยธรรมที่บุคคลนั้นได้สร้างมาจวบจนชั่วชีวิต และในโอกาสที่ นิตยสาร ฅ คน ประจำเดือนพฤศจิกายน เป็นฉบับครบรอบ 8 ปี จึงได้ยกย่อง 8 บุคคลของสังคมไทยต่อไปนี้ให้เป็น "ปูชนียบุคคล" ผู้เป็นแบบอย่างที่ดีงามให้แก่คนในสังคม...
จากความคิดสมัยเด็กที่อยากจะแก้แค้นตำรวจที่เคยจับขังคุก 1 คืน อย่างไร้เหตุผล ทำให้ พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร มุ่งมั่นจะเป็นตำรวจให้จงได้ และท่านก็สามารถเข้ารับราชการที่กรมตำรวจได้สมดังใจ ก่อนจะได้ลัดฟ้าไปทำงานที่สำนักงานองค์กรสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีโต้) และเลือกกลับมาประจำการที่สถานีภูธรในภาคอีสาน เพราะอยากจะรู้ว่า "อะไรทำให้คนอีสานเป็นคอมมิวนิสต์" (ในช่วง พ.ศ. 2503 บ้านเมืองกำลังเผชิญปัญหาคอมมิวนิสต์) การไปประจำที่ภูธรครั้งนั้น ทำให้นายตำรวจจากเมืองกรุงได้ปะทะกับผู้ก่อการร้ายเป็นครั้งแรก และเป็นดั่งรอยต่อสำคัญทางความคิดว่า จะอยู่ต่อ หรือจะลาออกจากอาชีพผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ เพื่อไปทำงานอื่นซึ่งมีคนทาบทามเข้ามาแล้ว
"...แต่ผมไม่ไป ผมตัดสินใจอยู่ต่อ แล้วผมก็อยู่เรื่อยมาจนกระทั่งเกษียณ" นายตำรวจ ผู้ซึ่งได้ทุนไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา บอก และหลังจากนั้นท่านก็ถูกย้ายไปประจำตามภาคต่าง ๆ แม้กระทั่งถูกส่งตัวไปเรียนที่เอฟบีไอ พอกลับมาก็ได้ไปช่วยฝึกชาวบ้านรบกับคอมมิวนิสต์ เพื่อให้ชาวบ้านรู้จักพัฒนาตัวเอง ในครั้งหนึ่ง ท่านมีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ พระเจ้าอยู่หัว โดยไม่ได้คาดฝัน ซึ่งในหลวงก็รับสั่งให้ตามเสด็จฯ ทำให้ พล.ต.อ.วสิษฐ ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นนายตำรวจราชสำนักประจำ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึง พ.ศ. 2524 เป็นระยะเวลา 12 ปีเต็ม
สิ่งหนึ่งที่นายตำรวจตงฉินได้จากการปฏิบัติหน้าที่ตามเสด็จฯ ในหลวง ก็คือ "ธรรมะ" ซึ่งเป็นสิ่งที่ พล.ต.อ.วสิษฐ ศึกษาและปฏิบัติตามพระองค์ท่านจนติดเป็นนิสัย พล.ต.อ. บอกว่า ธรรมะทำให้เราสามารถจะมองชีวิตในความเป็นจริง คนเรามักตะเกียกตะกายหาสิ่งที่ตัวเองนึกว่าเป็นความสุข ทั้ง ๆ ที่สิ่งที่หานี้คือทุกข์ ได้มาชั่วครู่ชั่วยาม
นอกจากเป็นนายตำรวจตงฉิน ผู้ยึดในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์แล้ว อีกด้านหนึ่งของชีวิต พล.ต.อ.วสิษฐ ก็ยังเป็นนักเขียนที่สร้างสรรค์ผลงานมาตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษาในรั้วจามจุรี โดยเฉพาะงานเขียนนวนิยายที่เกี่ยวข้องกับตำรวจ เป็นงานเขียนประจำของท่านไปแล้ว ซึ่งจากผลงานของท่านก็ทำให้ท่านได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ มาตั้งแต่ปี 2541 และแม้จะย่างเข้าสู่วัย 83 ปี แต่ท่านก็ยังมีความคิดจะเขียนนวนิยายอีกสักเล่ม
ในฐานะที่เป็นอดีตตำรวจ และเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมือง พล.ต.อ.วสิษฐ ยอมรับว่า รู้สึกหนักใจที่สังคมไทยกำลังเกิดปัญหาซึ่งแทรกซึมอย่างฝังลึก เพราะคุณธรรมของสังคมไทยอ่อนลง หันไปหาวัตถุนิยมกันมากขึ้น ความเห็นแก่ตัวมากขึ้นกว่าสมัยก่อน ความเกรงอกเกรงใจก็น้อยลง
"เราเหมือนกับสอนลูกสอนหลานเรื่องของการให้เสรีภาพ สอนให้รู้จักสิทธิ แต่ลืมสอนเรื่องหน้าที่ เดี๋ยวนี้ผมรู้สึกว่าการอบรมเรื่องหน้าที่น้อยลง แล้วคนตื่นตัวมากเรื่องการสงวนสิทธิ ป้องกันสิทธิ แต่ถึงตอนทำหน้าที่ไม่ทำ กับปัญหาที่เกิดขึ้น ถ้าจะให้ตอบ ผมก็ต้องบอก แก้ที่ตัวเอง" นายตำรวจตงฉิน สะท้อนภาพสังคมไทยในปัจจุบันอย่างเป็นห่วง
เรื่องผลงานในหน้าที่ของการเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฏร์คงไม่ต้องพูดถึงความสามารถของท่าน อีกทั้งยังเป็นคนรักการอ่าน-เขียน จึงเป็นนักเขียนนิยายชื่อดังอย่าง
พลตำรวจเอก วสิษฐ เดชกุญชร (14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 - ) อดีตนายตำรวจราชสำนักประจำ และเป็นผู้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไว้วางพระราชหฤทัย จนได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ ก่อนที่จะออกมาดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมตำรวจ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ที่เป็นนักเขียนนวนิยายเกี่ยวกับวงการตำรวจ และอาชญากรรม โดยนำมาจากประสบการณ์จริง จนได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2541 ได้รับยกย่องว่าเป็นตำรวจตงฉินแห่งกรมตำรวจไทย ยุคปราบปรามคอมมิวนิสต์
พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร เกิดที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุดรธานี บิดามารดามีอาชีพเป็นครู จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนประจำจังหวัดขอนแก่น "โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน" เมื่อ พ.ศ. 2487 สำเร็จการศึกษาชั้นเตรียมอุดมศึกษาจากจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร รุ่น ลมหวล ศึกษาต่อรัฐศาสตรบัณฑิต ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้เข้าศึกษารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการตำรวจ จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เคยเข้ารับการอบรมหลักสูตรการสืบสวนจากสหรัฐอเมริกา จบหลักสูตรวิชาการป้องกันประเทศ จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.รุ่นที่ 23)
สมรสกับ คุณหญิงทัศนา (บุนนาค) เดชกุญชร เมื่อ พ.ศ. 2500
มีบุตร 2 คน คือ ว่าที่ร้อยตรี ดร. สุทรรศน์ เดชกุญชร และ ร้อยตำรวจตรีหญิงปรีณาภา เดชกุญชร
พลตำรวจเอก วสิษฐ มีหลาน 3 คน ได้แก่ น.ส.ปัญจรัตน์ เดชกุญชร ,จ่าเอก ชิษณุวัฒน์ เดชกุญชร และ น.ส.ณัฐพร เดชกุญชร
พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร เริ่มรับราชการในตำแหน่งอาจารย์ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2495 ต่อมาได้ลาออกไปสมัครเข้ารับราชการในกรมประมวลราชการแผ่นดิน (ต่อมาคือกรมประมวลข่าวกลาง) แล้วโอนไปรับราชการที่กองตำรวจสันติบาล กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และย้ายไปเป็นนายตำรวจราชสำนักประจำในปี พ.ศ. 2513 เคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516 เป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2532 และในปี พ.ศ. 2539 - 2543 และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นระยะเวลาสั้นๆ ตั้งแต่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 ถึง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 ตำแหน่งสุดท้ายในกรมตำรวจก่อนลาออกไปเป็นรัฐมนตรีเป็น รองอธิบดีกรมตำรวจ ฝ่ายกิจการพิเศษ
สั่งซื้อ คลิ๊ก!!! |
ผลงานที่ถูกนำไปสร้างละครโทรทัศน์
แม่ลาวเลือด (2533) ฉายทาง ช่อง 3 นำแสดงโดย ฉัตรชัย เปล่งพานิช จริยา สรณคม เกรียงไกร อุณหะนันทน์ รัญญา ศิยานนท์
สารวัตรใหญ่ (2537) ฉายทาง ช่อง 7 นำแสดงโดย ลิขิต เอกมงคล รับบท พ.ต.ท.ใหญ่ เวโรจน์
ยุทธพิชัย ชาญเลขา รับบท ว่าที่ ร.ต.ต.พิทยาธร
เลือดเข้าตา (2538) ฉายทาง ช่อง 5 นำแสดงโดย จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์ รับบท ร.ต.ต.พันแสง อัศวโกวิทวัฒน์ สันติสุข พรหมศิริ รับบท สารวัตรก้อนเส้า
หักลิ้นช้าง (2539) ฉายทาง ช่อง 7 นำแสดงโดย พีท ทองเจือ รับบท ธนุส นิราลัย ลินดา ครอส รับบท คริสติน่า
สันติบาล (2539) ฉายทาง ช่อง 5 นำแสดงโดย ไมเคิล พูพาร์ท รับบท การุณ ฟ้ารุ่ง ชาลีรักษ์ รับบท โจเซฟิน ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย รับบท พ.ต.อ.สาม
ความสัมพันธ์ระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และพล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร เริ่มต้นขึ้น พ.ศ. 2513 – 2524 พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร ได้รับราชการเป็นนายตำรวจราชสำนักประจำ และเป็นหนึ่งในกลุ่มปัญญาชนรุ่นแรกผู้ถวายงานใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นผู้เผยแพร่อุดมการณ์โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริคนสำคัญ นอกจาก การเป็นนายตำรวจราชสำนักประจำแล้ว ยังเป็นนักเขียนผู้มีผลงานที่รู้จักด้านนวนิยาย จนได้รับรางวัลหนังสือดีเด่นในปี พ.ศ. 2524 รวมถึงเป็นมือเขียนบทความ เรื่องสั้น และงานเขียนสารคดีเฉลิมพระเกียรติ “รอยพระยุคลบาท: บันทึกความทรงจำของพล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร” ซึ่งตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในมติชนสุดสัปดาห์ เมื่อปี พ.ศ. 2524 – 2543 จนได้รับการตีพิมพ์รวมเล่มเมื่อปี พ.ศ. 2544 จนได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2541
อดีตนายตำรวจราชสำนักประจำ เคยกล่าวไว้ว่า เขายังเคยถวายการแสดงละครหน้าพระที่นั่งร่วมกับ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2502 หรือ 2503 (พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร 2544: 14)
พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร เป็นผู้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ไว้วางพระราชหฤทัยอย่างมาก โดยเฉพาะการเป็นตำรวจตงฉินแห่งกรมตำรวจไทย สอนวิชาประวัติศาสตร์และการเมืองให้ตำรวจตระเวนชายแดน ในยุคปราบปรามคอมมิวนิสต์ และยังทำหน้าที่เป็นผู้เผยแพร่อุดมการณ์ในการปราบปรามคอมมิวนิสต์ให้กับนายตำรวจในระดับปฏิบัติการโดยตรงผ่านบทบาทของการเป็นครูบรรยายให้กับผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการปราบปรามเมื่อปี พ.ศ. 2504 ซึ่งเป็นปีแห่งการเริ่มต้นของการต่อสู้ระหว่างตำรวจและคอมมิวนิสต์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.ต.อ.วสิษฐ ร่วมโต๊ะเสวยในการเสด็จประทับที่พระราชวังไกลกังวล สม่ำเสมอ และยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตามเสด็จเพื่อถวายความปลอดภัยขณะเสด็จพระราชดำเนินพระราชวังไกลกังวล แต่ในช่วงนั้น พล.ต.อ.วสิษฐ ยังไม่มีหน้าที่นี้โดยตรง จึงต้องขออนุญาตจากผู้บังคับบัญชาเป็นครั้งคราวไป (พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร 2544: 20-21)
สำหรับการถวายความปลอดภัยให้กับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และพระราชวงศ์ หน้าที่ที่สำคัญของ พล.ต.อ.วสิษฐ ยังมีบทบาทในการเผยแพร่พระราชกรณียกิจในการเขียนข่าว การเสด็จพระราชดำเนินให้กับสำนักราชเลขาธิการเพื่อนำไปประกอบการนำเสนอข่าวในพระราชสำนัก ซึ่ง พล.ต.อ.วสิษฐ ยังได้รับเชิญให้ไปเผยแพร่พระราชกรณียกิจจากหน่วยงานต่าง ๆ เป็นประจำ ทั้งองค์กรระหว่างประเทศ และหน่วยงานต่าง ๆ ดังปรากฏในข้อความตอนหนึ่งว่า
“…ผมได้รับคำเชิญจากสโมสรโรตารี่กรุงเทพฯ ให้ไปพูดเรื่อง The King Upcountry ที่โรงแรมเอราวัณ กรุงเทพฯ การพูดเรื่องพระราชกรณียกิจเป็นเหมือนกิจกรรมนอกหลักสูตร (ที่จริงนอกหน้าที่ราชการ) ที่ผมได้รับเชิญและปฏิบัติอยู่เป็นครั้งคราว และปรากฏว่ามากขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดเมื่อพ้นตำแหน่งนายตำรวจ ราชสำนักประจำ ออกมาทำหน้าที่อื่นไกลพระยุคลบาท และจนกระทั่งทุกวันนี้ ก็ยังมีผู้เชิญไปพูดอยู่มิขาด เมื่อแรกผมไม่ค่อยจะสบายใจนัก และได้บอกผู้เชิญตามตรงว่าผมพ้นตำแหน่งในราชสำนักมานานแล้ว ข้อมูลเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจที่ผมมีอยู่เป็นข้อมูลเก่าไม่ทันสมัย หากเชิญผู้อื่นที่ยังทำหน้าที่อยู่ใกล้พระยุคลบาทจะเป็นการเหมาะกว่า แต่ก็ปรากฏว่ายังมีผู้เชิญอยู่นั่นเอง ในที่สุดก็จึงต้องปลงว่าแม้จะเป็นเรื่องเก่า แต่ก็เป็นเรื่องของพระราชกรณียกิจอันทรงคุณค่า ควรแก่การรู้เห็นของผู้อื่นที่มิได้มีโอกาสได้รู้ ถ้าหากยังอยากฟังกันอยู่ และถ้าผมยังพูดไหว ก็คงจะต้องพูดกันต่อไปเรื่อย ๆ…” (วสิษฐ เดชกุญชร 2544: 454)
‘พระสมเด็จจิตรลดา’ จากพระหัตถ์ กับคำสอน ร.9 ถึง ‘วสิษฐ เดชกุญชร’
พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร ราชองครักษ์ในรัชกาลที่ 9
ฉายา “ตำรวจตงฉินแห่งกรมตำรวจไทย” หัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ ผู้ตามเสด็จถวายความปลอดภัย และเผยแพร่พระราชกรณียกิจ
พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร หัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2513 – 2524) เคยสมัครเข้าร่วมเป็นยุวชนทหารในสมัยเรียนมัธยม ต่อมาเข้าร่วมเป็นสมาชิกขบวนการเสรีไทย ในปลายสงครามโลกครั้งที่สองกับ นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) สำเร็จการศึกษาเกียรตินิยม รัฐศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนเดินทางศึกษาต่อที่โรงเรียนตำรวจนครบาลนิวยอร์ก และวิทยาลัยเอฟบีไอ (Master of Public Administration) ประเทศสหรัฐฯ
ชีวิตตำรวจ:พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร |
ชีวิตตำรวจ : พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร
ความคิดเเละความมุ่งมั่น กลั่นเป็นอัตชีวประวัติ อันทรงความหมายต่อประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ผู้เขียน พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร
สั่งซื้อ จาก SE-Ed โดยตรง เพียงคลิ๊ก!!!
ราคา 228 บาท จากราคา 240 บาท หรือ สั่งเป็น E-book
PDF ราคา 159 บาท
เนื้อหาโดยสังเขป
หนังสืออัตชีวประวัติของ "พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร" ที่ถ่ายทอดเรื่องราวนับแต่ผู้เขียนนับแต่ได้มีโอกาสรับใช้ชาติในฐานะผู้ร่วมขบวนการเสรีไทย โดยมีทัศนคติที่เป็นธรรมต่อกระแสสังคมในยุคดังกล่าว และเมื่อถูกรังแกจากข้าราชการตำรวจนายหนึ่ง จึงตั้งมั่นว่าหากมีโอกาสจะต้องเป็นตำรวจ และที่สำคัญก็คือ ต้องเป็น "ตำรวจที่ดี" ให้ได้!
หลังจากนั้นเขาก็ได้ร่ำเรียนศึกษาและเป็นอาจารย์สอนอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนจะมีโอกาสไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา แล้วกลับมารับราชการตำรวจ ชีวิตของเขาต้องฟันฝ่าอุปสรรคมากมาย นับแต่การเรียนรู้การเป็นสายลับ การสืบสวนสอบสวนคนร้ายในคดีการเมือง ท่ามกลางการเมืองทั้งในและนอกองค์กร แต่บทบาทที่เขาภูมิใจที่สุดในชีวิตก็คือ การได้มีโอกาสรับใช้เบื้องพระยุคลบาทในฐานะตำรวจราชสำนักประจำเป็นเวลาหลายปี ก่อนจะมีโอกาสเข้าอุปสมบท และหวนกลับมาขึ้นมาถึงจุดสูงสุดอีกครั้ง ในฐานะรองอธิบดีกรมตำรวจ นับเป็นบทบาทชีวิตที่โลดโผน ท้าท้าย และเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้ชีวิตที่ควรค่าแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
สารบัญ
- ทีเเรกนึกว่าจะได้เป็นทหาร
- นึกว่าจะได้เป็นทหารเเต่สอบตก
- ตัดสินใจจะเป็นตำรวจในห้องขัง
- ไปได้เรียนตำรวจเอาที่อเมริกา
- เเถมได้เรียนควบในโรงเรียนตำรวจนิวยอร์กด้วย
- ตกต่ำถึงกับต้องรับจ้างทำงานห้องสมุด
- ถูกเหยียบแบนก่อนจะได้รับโอนไปเป็นตำรวจ
- ยังเป็นตำรวจไม่ได้ ต้องไปเป็นสายลับก่อน
- ปฏิบัติราชการลับร่วมกับซีไอเอ
- หลุดเข้าไปอยู่ในวงการตอบโต้คอมมิวนิสต์ ระหว่างประเทศ
ฯลฯ
รอดตายด้วยพระบารมี! เผยวินาที ฮ.ตก พล.อ.วสิษฐ พึ่งพระสมเด็จจิตรลดา พระกำลังแผ่นดินที่ในหลวง ร.๙ ทรงกดลงพิมพ์ด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง
เรื่องเล่าหนึ่งในหนังสือ”พ่อของแผ่นดิน’ของผม ได้จากหนังสือ “รอยพระยุคลบาท” บันทึกความทรงจำของพลตำรวจเอก วสิษฐ เดชกุญชร น่าประทับใจมากครับ ท่านเล่าไว้ตอนหนึ่งว่า
"... ขณะที่เฮลิคอปเตอร์กำลังร่วงลงไปนั้น ผม (พลตำรวจเอกวสิษฐ เดชกุญชร) มีความรู้สึกอย่างเดียวกับนักบิน คือนึกว่าตัวเองกำลังจะตายเพราะเครื่องบินตก ผมได้ยินทุกคนในเครื่องบินต่างสวดมนต์เสียงดังไม่ได้ศัพท์
ตัวผมเองนั้น ทำสิ่งที่ผมเชื่อว่าจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่ได้ทำก่อนตายคือ เอามือกุมพระเครื่ององค์เดียวที่ห้อยคออยู่แล้วร้องเรียกพระห้าองค์ที่ผมไหว้เป็นประจำคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จฯ (สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ)
พระเครื่ององค์นั้น เป็นพระเครื่องที่ผมได้รับพระราชทานจากพระหัตถ์ของพระเจ้าอยู่หัว ในคืนวันหนึ่งใน พ.ศ. 2510 หลังจากที่รับพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำในวังไกลกังวล คือ“พระสมเด็จจิตรลดา” หรือ "พระกำลังแผ่นดิน” ที่พระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างเอง
คืนนั้น บนพระตำหนักเปี่ยมสุขในวังไกลกังวล จำได้ว่า พระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงมาพร้อมด้วยกล่องใส่พระเครื่องในพระหัตถ์ ขณะที่ทรงวางพระลงบนฝ่ามือที่ผมแบรับอยู่นั้น ผมมีความรู้สึกว่าองค์พระร้อนเหมือนเพิ่งออกจากเตา
ภายหลังเมื่อมีโอกาสกราบบังคมทูลถาม จึงทราบว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระเครื่องด้วยการนำวัตถุมงคลหลายชนิดผสมกัน เช่น ดินจากปูชนียสถานต่างๆ ทั่วประเทศ ดอกไม้ที่ประชาชนทูลเกล้าฯ ถวายในโอกาสต่างๆ และเส้นพระเจ้า (คือเส้นผม ของพระองค์เอง เมื่อผสมกันโดยใช้กาวลาเท็กซ์เป็นเครื่องยึดแล้ว จึงทรงกดพระแต่ละองค์ลงในพิมพ์ โดยไม่ได้เอาเข้าเตาหรือใช้ความร้อนชนิดใดๆ)
หลังจากที่เรา (นายตำรวจรวมแปดนายและนายทหารเรือหนึ่งนาย) รับพระราชทานพระแล้ว ทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราโชวาทมีความว่า พระที่พระราชทานนั้น ก่อนจะเอาไปบูชา ให้ปิดทองเสียก่อน แต่ให้ปิดเฉพาะข้างหลังพระเท่านั้น
พระราชทานพระบรมราชาธิบายด้วยว่า ที่ให้ปิดทองหลังพระก็เพื่อจะได้เตือนตัวเองว่า การทำความดีไม่จำเป็นต้องอวดใคร หรือประกาศให้ใครรู้ ให้ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ และถือว่าความสำเร็จในการทำหน้าที่เป็นบำเหน็จรางวัลที่สมบูรณ์แล้ว
... หลังจากที่ไปเร่ร่อนปฏิบัติหน้าที่อยู่ไกลห่างพระยุคลบาทเป็นเวลาประมาณหนึ่งปี ผมได้มีโอกาสกลับไปเฝ้าฯ ที่วังไกลกังวลอีก ความรู้สึกเมื่อได้เฝ้าฯ นอกจากความปีติยินดีที่ได้ใกล้พระยุคลบาทอีกครั้งหนึ่งแล้ว ก็มีความน้อยใจที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจ ลำบาก และเผชิญอันตรายนานาชนิด บางครั้งแทบเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ปรากฏว่ากรมตำรวจมิได้ตอบแทนด้วยบำเหน็จใดๆ ทั้งสิ้น
ก่อนเสด็จขึ้นคืนนั้น ผมจึงก้มลงกราบบนโต๊ะเสวย แล้วกราบบังคมทูลว่า ใคร่ขอพระราชทานอะไรสักอย่างหนึ่ง
พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามว่า
“จะเอาอะไร?”
และผมก็กราบบังคมทูลอย่างกล้าหาญชาญชัยว่า จะขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตปิดทองบนหน้าพระที่ได้รับพระราชทานไป พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามเหตุผลที่ผมขอปิดทองหน้าพระ
ผมกราบบังคมทูลอย่างตรงไปตรงมาว่า พระสมเด็จจิตรลดาหรือพระกำลังแผ่นดินนั้น นับตั้งแต่ได้รับพระราชทานไปห้อยคอแล้ว ต้องทำงานหนักและเหนื่อยเป็นที่สุด เกือบได้รับอันตรายร้ายแรงก็หลายครั้ง มิหนำซ้ำกรมตำรวจยังไม่ให้เงินเดือนขึ้นแม้แต่บาทเดียวอีกด้วย
พระเจ้าอยู่หัวทรงแย้มพระสรวล (ยิ้ม) ก่อนที่จะมีพระราชดำรัสตอบด้วยพระสุรเสียงที่ส่อพระเมตตาและพระกรุณาว่า ปิดทองข้างหลังพระไปเรื่อยๆ แล้วทองจะล้นออกมาที่หน้าพระเอง...”
หมายเหตุ: พระสมเด็จจิตรลดา เป็นพระเครื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กประมาณ ไม่เกิน ๓,๐๐๐องค์ พระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และพลเรือน ตั้งแต่ใน พ.ศ.๒๕๐๘ จนสิ้นสุดใน พ.ศ.๒๕๑๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง มีเอกสารส่วนพระองค์ (ใบกำกับพระ) ซึ่งแสดงชื่อ นามสกุล วันที่รับพระราชทาน หมายเลขกำกับทุกองค์ โดยทรงมีพระราชดำรัสแก่ผู้รับพระราชทานว่า "ให้ปิดทองที่หลังองค์พระปฏิมาแล้วเอาไว้บูชาตลอดไป ให้ทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ"
ขอบคุณ tnews
HASTAG # : วิสิษฐ เดชกุญชร ในหลวง ร.9
เทคนิคการวิ่ง และคำสอนปิดทองหลังพระของในหลวง ร.9 เล่าโดย พล ต อ วศิษฐ์ เดชกุญชร: มติชน วีกเอ็นด์ 23 ต.ค.59
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ Wikipedia
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)[5]
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นจตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)
- เหรียญพิทักษ์เสรีชน (ส.ร.2) ประเภทที่ 2
- เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 (ภ.ป.ร.4)
- เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ง.9)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สงบ จากหลวงพ่อพุธ
ฟังธรรมะ ฟังจากหัวใจตัวเองนั่นดีที่สุด อย่าไปเที่ยวหาฟังจากคนอื่น
ราคาพิเศษ 80 บาท จากราคาเดิม 120 บาท
สั่งซื้อได้เลยที่นี้!!!
ราคาพิเศษ 80 บาท จากราคาเดิม 120 บาท
สั่งซื้อได้เลยที่นี้!!!
No comments:
Post a Comment